![]() |
การปรับปรุงกระบวนการผลิตแกนยึดหัวอ่านสำหรับฮาร์ดดิสก์ โดยใช้แนวคิดลีน ซิกซ์ ซิกมา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การปรับปรุงกระบวนการผลิตแกนยึดหัวอ่านสำหรับฮาร์ดดิสก์ โดยใช้แนวคิดลีน ซิกซ์ ซิกมา |
Creator | มยุรา หนองเส |
Contributor | นภัสสวงศ์ โรจนโรวรรณ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | การผลิตแบบลีน, ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ), ฮาร์ดดิสก์, อุตสาหกรรฮาร์ดแวร์ -- การควบคุมการผลิต, Lean manufacturing, Six sigma (Quality control standard), Hard disks (Computer science), Hardware industry -- Production control, Computer storage devices, อุปกรณ์หน่วยเก็บ |
Abstract | งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์แนวคิดลีน ซิกซ์ ซิกมา มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อลดอัตราส่วนของเสียจากปัญหาค่าแรงบิดและค่าเรโซแนนซ์ออกนอกค่าการยอมรับของลูกค้า และลดระยะเวลานำในกระบวนการผลิตแกนหมุนฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ งานวิจัยนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ การปรับปรุงอัตราส่วนของเสียของค่าแรงบิดและค่าเรโซแนนซ์ โดยมีขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอนตามระยะของซิกซ์ ซิกมา เริ่มจากการนิยามปัญหาโดยกำหนดเป้าหมายและขอบเขตของการปรับปรุง ระยะการวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหา ได้ทำการวิเคราะห์ระบบการวัด และหาปัจจัยนำเข้าที่อาจมีผลต่อค่าแรงบิดและค่าเรโซแนนซ์ จากนั้นในระยะการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้ออกแบบการทดลองเพื่อหาปัจจัยที่มีนัยสำคัญ ระยะการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการได้หาระดับของปัจจัยที่ทำให้ค่าเฉลี่ยของค่าแรงบิดและค่าเรโซแนนซ์มีค่ามากที่สุด และระยะการติดตามควบคุมได้ทำการทดสอบยืนยันผลและจัดทำแผนควบคุม ผลหลังการปรับปรุงพบว่า ค่าแรงบิดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.79 gf.cm. ซึ่งมีค่าดีขึ้นกว่าก่อนทำการปรับปรุง ซึ่งค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.63 gf.cm. ส่งผลให้ค่า Cpk ดีขึ้นจาก 0.75 เป็น 1.55 และความสามารถของค่าเรโซแนนซ์ชิ้นงานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.99 kHz. ซึ่งมีค่าดีขึ้นกว่าก่อนการปรับปรุง ซึ่งค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12.65 kHz. ส่งผลให้ค่า Cpk ดีขึ้นจาก 0.83 เป็น 1.53 เป็นไปตามมาตรฐานยอมรับ Cpk 1.33 และอัตราส่วนของเสียเฉลี่ยหลังปรับปรุงลดลงจาก 2% เป็น 0.78% อีกทั้งยังส่งผลให้สามารถลดต้นทุนของเสียโดยเฉลี่ยต่อปีจากยอดการผลิตที่พยากรณ์ไว้จาก 2,055,563 บาทต่อปี เป็น 858,367 บาทต่อปี งานวิจัยส่วนที่สองคือ การลดระยะเวลานำในกระบวนการผลิตโดยทำการศึกษาข้อมูลกระบวนการผลิตแกนยึดหัวอ่านสำหรับฮาร์ดดิสก์ ทำการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์หาสาเหตุโดยใช้ตารางจำแนกความสูญเปล่า จึงดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยนำแนวคิดการผลิตแบบลีนมาใช้ในการแก้ปัญหาโดยเปลี่ยนและลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่เหมาะสม ซึ่งผลหลังการปรับปรุงพบว่าระยะเวลานำในการผลิตแกนยึดหัวอ่านสำหรับฮาร์ดดิสก์ลดลงจาก 4.53 วัน เป็น 2.91 วัน |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |