![]() |
ค่าจลนพลศาสตร์ของการผลิตแก๊สชีวภาพจากการย่อยสลายแบบไร้อากาศของน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมัน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ค่าจลนพลศาสตร์ของการผลิตแก๊สชีวภาพจากการย่อยสลายแบบไร้อากาศของน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมัน |
Creator | กิตติธัช อาจศิริ |
Contributor | ศรัณย์ เตชะเสน |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ก๊าซชีวภาพ, น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดน้ำมัน, Biogas, Sewage -- Purification -- Oil removal |
Abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การเจริญเติบโต (Yield, Y) ของตะกอนจุลินทรีย์, ผลของความเข้มข้นน้ำมันปาล์มต่อการผลิตแก๊สชีวภาพ และจลนพลศาสตร์ของการผลิตแก๊สชีวภาพจากการย่อยสลายแบบไร้อากาศของน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันปาล์มทดลองระดับห้องปฏิบัติการในชุดถังปฏิกิริยาแบบแบตช์ ใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่เตรียมขึ้นจากนมขาดมันเนยมีค่าซีโอดี 800 มิลลิกรัม-ซีโอดีต่อลิตรโดยประมาน และทำให้ปนเปื้อนด้วยน้ำมันปาล์ม 0, 100, 500, 2,000, 10,000 และ 50,000 มิลลิกรัมต่อลิตรตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าการเติมโซเดียมโดเดซิลซัลเฟต (SDS) มีผลให้ค่ายีลด์ลดลงจาก 0.11 เป็น 0.085 กรัม-เซลล์ซีโอดีต่อกรัม-ซีโอดี การผลิตแก๊สชีวภาพจากการย่อยสลายแบบไร้อากาศของน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันปาล์ม 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีสูงสุด 75.89, 64.76 และ 68.47 เปอร์เซ็นต์ ในการทดลองครั้งที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ และสามารถผลิตแก๊สชีวภาพได้ปริมาณมากที่สุด 575, 580 และ 525 มิลลิลิตรในการทดลองทั้ง 3 ครั้งตามลำดับ ส่วนระยะปรับตัวของจุลินทรีย์ของทั้ง 3 การทดลองสามารถอธิบายด้วยสมการคณิตศาสตร์ซึ่งแปรผันตามฟังก์ชั่นลอการิทึมของความเข้มข้นน้ำมันปาล์ม ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบแก๊สชีวภาพด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโตรกราฟฟีพบว่ามีแก๊สมีเทนเป็นองค์ประกอบ 52.94±8.64 เปอร์เซ็นต์ คาร์บอนไดออกไซด์ 47.06±8.65 เปอร์เซ็นต์ และแก๊สอื่นๆ 0.008±0.018 เปอร์เซ็นต์ สำหรับค่าจลนพลศาสตร์ที่วิเคราะห์ด้วยสมการแบบไม่เชิงเส้นของ Monod ด้วยโปรแกรม SPSS พบว่าค่าคงที่ที่ได้คือ ค่า k[subscript m] = 1.84+0.19 ต่อวัน และ ค่า K[subscript s] = 1,092+452 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้งนี้ค่าจลนพลศาสตร์ที่ได้รับจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญที่มีประโยชน์ในการนำไปใช้ควบคุม ดำเนินการ และออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียที่มีการปนเปื้อนของน้ำมันในระดับอุตสาหกรรมได้ต่อไปในอนาคต |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |