การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุความสุขของนักเรียน : การวิเคราะห์กลุ่มพหุ
รหัสดีโอไอ
Title การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุความสุขของนักเรียน : การวิเคราะห์กลุ่มพหุ
Creator วินิตา แก้วเกื้อ
Contributor ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ความสุขในเยาวชน -- การวัด, ความสุขในเด็ก -- การวัด, ความสุข -- การวัด, Happiness in youth -- Measurement, Happiness in children -- Measurement, Happiness -- Measurement
Abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุความสุขของนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุความสุขของนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานระหว่างระดับชั้นประถมศึกษาและระดับชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 จำนวน 900 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิงประกอบ ด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การกระจาย ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์อิทธิพลและการวิเคราะห์กลุ่มพหุโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1. โมเดลเชิงสาเหตุความสุขของนักเรียนที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยปัจจัยที่มีขนาดอิทธิพลต่อความสุขของนักเรียนมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านโรงเรียนมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .760 โดยมีตัวแปรสังเกตได้ที่มีค่ามากที่สุด คือ คุณลักษณะครูและตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความสุขของนักเรียนได้ร้อยละ 53.8 2. ตัวแปรที่ส่งผลต่อความสุขของนักเรียนในโมเดลเชิงสาเหตุความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษามีตัวแปรปัจจัยเหมือนกัน คือ ตัวแปรปัจจัยด้านตนเอง ตัวแปรปัจจัยด้านครอบครัว และตัวแปรปัจจัยด้านโรงเรียน แต่น้ำหนักในตัวแปรที่ส่งผลในโมเดลต่างกัน
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ