![]() |
การวิเคราะห์ข้อมูลสัดส่วนร่างกายและแรงกดอัดที่หลังส่วนล่างของประชากรอายุ 13 – 18 ปี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การวิเคราะห์ข้อมูลสัดส่วนร่างกายและแรงกดอัดที่หลังส่วนล่างของประชากรอายุ 13 – 18 ปี |
Creator | ณัฐชา เมฆเจริญ |
Contributor | ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | มานุษยมิติ, สัดส่วน (มานุษยมิติ), วัยรุ่น -- มานุษยมิติ, เออร์โกโนมิกส์, การออกแบบ -- มนุษย์ปัจจัย, น้ำหนักตัว, Anthropometry, Proportion (Anthropometry), Adolescence -- Anthropometry, Human engineering, Design -- Human factors, Body weight |
Abstract | การวิเคราะห์ขนาดสัดส่วนร่างกายของวัยรุ่นตามแนวทางการยศาสตร์นั้น จำเป็นต้องรู้ข้อมูลขนาดสัดส่วนร่างกายของผู้ใช้งาน ซึ่งการหาข้อมูลดังกล่าวสามารถทำได้หลายวิธีตั้งแต่การวัดโดยตรงจากกลุ่มประชากร การใช้ค่ามาตรฐานสัดส่วนร่างกาย รวมถึงการใช้ความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ การหาความสัมพันธ์ของสัดส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ใช้กับข้อมูลพื้นฐานที่มี คือ น้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียนจะช่วยให้การการวิเคราะห์ข้อมูลสัดส่วนร่างกาย ซึ่งการหาความสัมพันธ์เหล่านี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลขนาดสัดส่วนร่างกายเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในท่ายืนและท่านั่งจำนวน 20 สัดส่วน และการวัดกำลังสถิตของกล้ามเนื้อทั้ง 4 ท่ารวมทั้งคำนวณค่าแรงกดอัดที่หลังส่วนล่าง จากจำนวนนักเรียน 420 คน สมการถดถอยเชิงเส้นและสมการความสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณ ถูกนำมาใช้หาความสัมพันธ์ดังกล่าว ถูกสร้างขึ้นจากตัวแปรต้น คือ ข้อมูลด้านความสูงและน้ำหนักของร่างกาย โดยแต่ละสัดส่วนแสดงเป็นสมการ 3 สมการ คือ 1. สมการที่ใช้ข้อมูลเฉพาะความสูง 2. สมการที่ใช้ข้อมูลเฉพาะน้ำหนัก และ 3. สมการที่ใช้ข้อมูลทั้งความสูงและน้ำหนักร่วมกัน ซึ่งแต่ละสมการให้ค่า สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R²) ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากสมการที่ใช้ข้อมูลด้านความสูงและน้ำหนักร่วมกันจะให้ค่า R² สูงกว่าการใช้ตัวแปรต้นเพียงตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง ดังนั้นการนำสมการไปใช้งานจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าต้องการความแม่นยำมากน้อยเพียงใด และในส่วนของการวัดกำลังสถิตกล้ามเนื้อทำให้เราทราบค่าน้ำหนักยกหรือภาระงานที่เหมาะสมและยอมรับได้ซึ่งไม่เกิดอันตรายต่อแรงงานในแต่ละช่วงอายุและเพศ ซึ่งพิจารณาทั้งส่วนของกำลังสถิตของกล้ามเนื้อและแรงกดอัดที่หลังส่วนล่าง |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |