การศึกษาปัจจัยทางทัศนวิสัยเพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้เข้ารับบริการในสปา
รหัสดีโอไอ
Title การศึกษาปัจจัยทางทัศนวิสัยเพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้เข้ารับบริการในสปา
Creator ภาคภูมิ ดิสนีเวทย์
Contributor วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การรับรู้, การรับรู้ทางสายตา, สีในการตกแต่งภายใน, สถานตากอากาศเพื่อสุขภาพ -- การตกแต่ง, การจูงใจ (จิตวิทยา), Perception, Visual perception, Color in interior decoration, Health resorts -- Decoration, Motivation ‪(Psychology)‬
Abstract ธุรกิจสปาในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มีการแข่งขันจากผู้ประกอบการทางธุรกิจสปา ในด้านการบริการ ราคา สถานที่ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ ซึ่งสิ่งที่สร้างแรงจูงใจให้เข้ามารับบริการส่วนหนึ่งนั้นเกิดขึ้นจากการมองเห็นหรือทัศนวิสัยที่ผู้มอง มองเข้าไปในสปาแล้วเกิดแรงจูงใจให้เข้ารับบริการสปา การวิจัยนี้จะเน้นการหาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจ ด้วยการวิเคราะห์หาตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลในการสร้างแรงจูงใจให้เข้าบริการสปา โดยการศึกษาจากเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สำรวจทางกายภาพ และเก็บข้อมูลแบบสอบถามเพื่อหาตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลรุนแรงมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมจำลองและทำการทดสอบแรงจูงใจในการเข้ารับบริการสปา ด้วยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คนที่เข้ามาใช้บริการสปาโดยใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินผล ตัวแปรที่มีอิทธิผลรุนแรงต่อการจูงใจ คือ 1. จุดดึงดูดสายตา 2. สีของแสง 3. ความเปรียบต่างที่วัตถุกับพื้นภาพ เมื่อนำตัวแปรมาสร้างในสภาพแวดล้อมจำลอง จะเป็นจุดที่สามารถดึงดูดให้ผู้ที่เข้ามารับบริการมีแรงจูงใจที่จะเข้ามารับบริการ โดยการสร้างให้จุดสนใจที่ใช้ตัวแปรทั้งสามเพื่อสร้างแรงจูงใจในระยะไกล ผู้เข้ารับบริการมีความรู้สึกอยากเข้ารับบริการเมื่อเห็นจุดดึงดูดสายตาที่มีความโดดเด่น ด้วยการใช้สีของแสงโทนร้อนเพื่อการสร้างแรงกระตุ้นต่อความรู้สึก และการให้ค่าความเปรียบต่างที่วัตถุกับภาพพื้น ทำให้เกิดความสนใจและประทับใจ การใช้ตัวแปรตบแต่งสภาพภายในสปาเพื่อให้เกิดแรงจูงใจให้อยากเข้ารับบริการในสปานั้น สรุปตัวแปรสำคัญได้คือ จุดดึงดูดสายตาที่ใช้การผสมผสานระหว่างธรรมชาติและประติมากรรม สามารถสร้างแรงจูงใจมากที่สุด สีของแสงโทนอบอุ่นที่อุณหภูมิสีอยู่ในช่วง 2500-3000 K เป็นช่วงอุณหภูมิสีที่ใช้ตบแต่งแล้วจะเพิ่มแรงจูงใจใช้เข้าใช้บริการ และระดับความเปรียบต่างที่วัตถุกับพื้นภาพใช้ช่วง 1:10-1:15 เป็นการให้ค่าความเปรียบต่างที่เกิดแรงจูงใจมากที่สุด เมื่อนำมาทดสอบแล้วสามารถเพิ่มระดับแรงจูงใจได้ 73.33% เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ตัวแปร
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ