![]() |
ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยจิตเภท |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยจิตเภท |
Creator | พชรพร ผู้ปฏิเวธ |
Contributor | เพ็ญพักตร์ อุทิศ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | จิตเภท, ผู้ป่วยจิตเภท, ผู้ป่วยจิตเภท -- การพยาบาล, ความเครียด (จิตวิทยา), Schizophrenia, Schizophrenics, Schizophrenics -- Nursing, Stress (Psychology) |
Abstract | ศึกษาวิธีการเผชิญความเครียดและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ระดับการศึกษา อายุ อาการทางบวก อาการทางลบ ความบกพร่องทางประสาท การรู้คิด การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน กับการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 150 คน ได้จากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการเผชิญความเครียด แบบประเมินอาการทางบวก แบบประเมินอาการทางลบ แบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตน เครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรง เชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .93, .90, .85, .80, .86 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน และเพียร์สัน ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยจิตเภทมีคะแนนเฉลี่ยของการเผชิญความเครียดด้วยวิธีการจัดการกับปัญหาสูงที่สุด และอยู่ในระดับมาก (X-bar = 3.71, S.D. = 11.23) 2. การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม อาการทางลบ ความบกพร่องทางประสาทการรู้คิด และอาการทางบวก มีความสัมพันธ์กับการเผชิญความเครียดด้วยวิธีการจัดการกับปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .731, .546, -.380, -.183 และ -.173 ตามลำดับ) 3. อาการทางบวก มีความสัมพันธ์กับการเผชิญความเครียดด้วยวิธีการใช้อารมณ์และความรู้สึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .258) 4. การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อาการทางลบ และความบกพร่องทางประสาทการรู้คิดมีความสัมพันธ์กับการเผชิญความเครียด ด้วยวิธีการหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .479, .438, -.539 และ -.191 ตามลำดับ) 5. ระดับการศึกษา และอายุไม่มีความสัมพันธ์กับการเผชิญความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |