![]() |
อิทธิพลของพลังงานจากคลื่นและกระแสน้ำต่อการฟุ้งกระจายของตะกอนท้องน้ำ และความเข้มข้นตะกอนแขวนลอยในมวลน้ำชายฝั่งบ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | อิทธิพลของพลังงานจากคลื่นและกระแสน้ำต่อการฟุ้งกระจายของตะกอนท้องน้ำ และความเข้มข้นตะกอนแขวนลอยในมวลน้ำชายฝั่งบ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ |
Creator | นิทัศน์ ลิ้มผ่องใส |
Contributor | ปราโมทย์ โศจิศุภร |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | กระแสน้ำ, ตะกอนแขวนลอย, การตกตะกอน --ไทย -- สมุทรปราการ, การตกตะกอนชายฝั่ง -- ไทย -- สมุทรปราการ |
Abstract | ชายฝั่งทะเลบ้านขุนสมุทรจีนตั้งอยู่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนที่มีลักษณะเป็นหาดเลนน้ำตื้นและความลาดชันน้อยทำให้พลังงานคลื่นและกระแสน้ำมีอิทธิพลต่อการฟุ้งกระจายของตะกอนท้องน้ำอย่างมาก จึงนำมาสู่การศึกษาอิทธิพลของพลังงานคลื่นและกระแสน้ำต่อความเข้มข้นตะกอนแขวนลอยในมวลน้ำชายฝั่งโดยใช้เป็นตัวแปรความสามารถในการอุ้มตะกอนของมวลน้ำ ดำเนินการสำรวจ 7 ครั้งตามแนวตั้งฉากกับชายฝั่งโดยมีความลึกอยู่ระหว่าง 1.5-5 เมตร ข้อมูลที่ตรวจวัดคือความลึกน้ำ ความเร็วกระแสน้ำใกล้ท้องน้ำ ความสูงและคาบคลื่น และความเข้มข้นตะกอนแขวนลอย กระแสน้ำใกล้ท้องน้ำพบว่ามีค่าอยู่ในช่วง 0-0.19 เมตรต่อวินาที ความสูงคลื่นนัยสำคัญอยู่ในช่วง 0.01-0.45 เมตร คาบคลื่น 3-5 วินาที ความเร็วกระแสน้ำหมุนวนเนื่องจากคลื่นที่ท้องน้ำมีค่ามากสุดประมาณ 0.28 เมตรต่อวินาทีซึ่งสามารถทำให้เกิดการกัดเซาะท้องน้ำได้เมื่อ D50ของตะกอนท้องน้ำมีค่า 0.0153 มิลลิเมตร ความเข้มข้นตะกอนแขวนลอยในมวลน้ำมีค่าระหว่าง 10 - 285 มิลลิกรัม/ลิตร การฟุ้งกระจายของตะกอนท้องน้ำเกิดจากกระแสน้ำหมุนวนเนื่องจากคลื่นที่ท้องน้ำเป็นหลัก เมื่อใช้สมการความสามารถในการอุ้มตะกอนแขวนลอยร่วมกับการใช้ค่าอัตราการตกตะกอนของอนุภาคตะกอนที่แปรผันตามความเข้มข้นตะกอนแขวนลอยพบว่าสามารถคำนวณความเข้มข้นตะกอนแขวนลอยได้ใกล้เคียงกับผลตรวจวัด (R2 = 0.62) ในขณะที่การใช้ค่าอัตราการตกตะกอนของอนุภาคตะกอนที่แปรผันตามขนาดอนุภาคจะคำนวณความเข้มข้นตะกอนแขวนลอยได้ไม่ดีนัก (R2 = 0.44) |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |