การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล
รหัสดีโอไอ
Title การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล
Creator เกสิณี ชิวปรีชา
Contributor ชญาพิมพ์ อุสาโห, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword โรงเรียน -- การบริหาร, การจัดการ -- การมีส่วนร่วมของลูกจ้าง, School management and organization, Management -- Employee participation
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนดีประจำตำบล 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนดีประจำตำบล ใช้กลุ่มตัวอย่าง 123 โรงเรียน โดยใช้แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ หาค่าเฉลี่ย หาความต้องการจำเป็นในการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม (2) ร่างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล (3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นรายบุคคล 30 คน และประชุมกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 15 คน และ (4) ปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้ (1) สภาพปัจจุบันของการบริหารแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนดีประจำตำบล ในภาพรวม ใช้รูปแบบโดยผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก อยู่ในระดับปานกลาง (X-bar = 2.72) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน การวางแผน อยู่ในระดับมาก (X-bar = 3.95) การนำแผนไปสู่การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (X-bar = 3.98) ส่วนการประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง (X-bar = 3.20) และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนดีประจำตำบล ในภาพรวม ใช้รูปแบบโดยผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก อยู่ในระดับมาก (X-bar = 3.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน การวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.51) การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.26) ส่วนการประเมินผลโดยครูเป็นหลักอยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.45) ความต้องการจำเป็นในการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยครูและชุมชนเป็นหลักเรียงลำดับ ดังนี้ การประเมินผล (PNI = .80) การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ (PNI = .53) และการวางแผน (PNI = .49) (2) รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล ควรใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนดีประจำโดยครูและชุมชนเป็นหลัก โดยมีหลักการ แนวคิด และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ และองค์ประกอบของการบริหาร ประกอบด้วย การวางแผน การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ และการประเมินผลโดยครูและชุมชนเป็นหลัก
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ