![]() |
การใช้บริการสุขภาพของเด็กออทิสติกที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การใช้บริการสุขภาพของเด็กออทิสติกที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ |
Creator | ดารณี วิชัยคำ |
Contributor | อลิสา วัชรสินธุ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์, เด็กออทิสติก -- บริการทางการแพทย์, เด็กออทิสติก -- บริการสุขภาพจิต |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบบริการสุขภาพของเด็กออทิสติกที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการใช้บริการสุขภาพของเด็กออทิสติกโดยศึกษาจากผู้ปกครองของเด็กออทิสติก จำนวน 304 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามบริการสุขภาพ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการใช้บริการสุขภาพของเด็กออทิสติก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปกครองร้อยละ 80.3 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 48.4 มีอายุระหว่าง 30 - 39 ปี ร้อยละ 70.4 เป็นมารดา ร้อยละ 35.2 มีอาชีพแม่บ้าน เด็กออทิสติกร้อยละ 80.3 เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.3 อายุระหว่าง 2 - 5 ปี ร้อยละ 88.8 ได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุ 1 - 3 ปี ร้อยละ 60.5 เด็กได้รับการรักษาด้วยยา ร้อยละ 31.6 ใช้ยา Risperidone ในการรักษา ร้อยละ 6.9 คือยา Ritalin บริการสุขภาพของโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์และจากสถานบริการอื่นๆ ที่เด็กเข้ารับบริการร่วมกับการรักษาด้วยยามากที่สุด 5 อันดับแรก คือการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ(ร้อยละ 47.7) การฝึกและแก้ไขการพูด(ร้อยละ 44.7) กิจกรรมบำบัด(ร้อยละ 43.4) พฤติกรรมบำบัด (ร้อยละ 33.9) และการฝึกทักษะทางสังคม (ร้อยละ 30.6) ปัจจัยที่มีผลต่อการมาใช้บริการคือความคาดหวังที่จะให้เด็กมีอาการดีขึ้น ลักษณะอาการของเด็กออทิสติก อัธยาศัยความใส่ใจของเจ้าหน้าที่และคุณภาพของบริการ ในการพัฒนางานบริการสำหรับเด็กออทิสติก ควรเน้นการให้ความสำคัญของการบำบัดชนิดต่างๆ โดยเฉพาะการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ การฝึกและแก้ไขการพูด กิจกรรมบำบัด พฤติกรรมบำบัด และการฝึกทักษะทางสังคม โดยคำนึงถึงอาการของเด็ก ความคาดหวังของผู้ปกครอง และคุณภาพของงานบริการสุขภาพ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |