![]() |
ผลของความเข้มข้นของของแข็งต่อการผลิตแก๊สชีวภาพในฟาร์มสุกรที่ใช้เทคโนโลยีสะอาด |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลของความเข้มข้นของของแข็งต่อการผลิตแก๊สชีวภาพในฟาร์มสุกรที่ใช้เทคโนโลยีสะอาด |
Creator | ปัณฑิตา บัวจันทร์ |
Contributor | ขันทอง สุนทราภา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ก๊าซชีวภาพ, สุกร -- การลดปริมาณของเสีย, Biogas, Swine -- Waste minimization |
Abstract | งานวิจัยนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือศึกษาผลของการลดปริมาณการใช้น้ำตามหลักการเทคโนโลยีสะอาดต่อสุขภาพของสุกร (น้ำหนักสุกร) และการศึกษาผลของปริมาณของแข็งในมูลสุกรต่อสมรรถนะของถังปฏิกรณ์ร่วม 2 ขั้นตอน งานวิจัยนี้เลี้ยงสุกรขุนที่หย่านมแล้ว ในคอกจำลอง 2 คอก คอกละ 20 ตัว คอกหนึ่งเป็นคอกที่ใช้น้ำตามปกติเรียกว่าคอกควบคุม และอีกคอกหนึ่งมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ วิธีการล้างคอก ตามหลักการเทคโนโลยีสะอาด เรียกว่า คอกที่ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาด พบว่าสุกรในคอกควบคุม ใช้น้ำเพื่อเป็นน้ำใช้ และน้ำล้างมากกว่าคอกที่ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาดร้อยละ 17.4 และ 56.2 ตามลำดับ แต่ต้องการน้ำเพื่อใช้เป็นน้ำดื่มน้อยกว่าคอกที่ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาดร้อยละ 32.0 หลังจากการเลี้ยงสุกรจนสามารถจำหน่ายได้เป็นเวลา 105 วัน ได้น้ำหนักสุกรในคอกควบคุมเท่ากับ 92 – 132 กิโลกรัม/ตัว และในคอกที่ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาดเท่ากับ 97 – 136 กิโลกรัม/ตัว น้ำเสียจากคอกควบคุมมีค่าของของแข็งทั้งหมด ค่าของของแข็งระเหยง่าย และค่าของของแข็งแขวนลอยเท่ากับ 11,200 – 15,600, 5,000 – 7,250 และ 7,300 – 8,390 มก./ล. ตามลำดับ น้ำเสียจากคอกที่ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาดมีค่าของของแข็งทั้งสามท่ากับ 22,088 – 31,360, 9,860 – 17,765 และ 12,480 – 18,139 มก./ล. ตามลำดับ อัตราการเกิดแก๊สมีเทนต่อวันจากถังปฏิกรณ์ร่วม 2 ขั้นตอน ที่สภาวะคงที่ในช่วงวันที่ 81 – 90 ของการดำเนินการมีค่าเท่ากับ 3.46±0.04, 2.03±0.01, 1.13±0.02 และ 0.48±0.02 ลิตร/วัน ที่ปริมาณของแข็งทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 5, 2.5, 1 และ 0.5 ตามลำดับ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |