การพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีบนพื้นฐานผลการวิจัยสำรวจและการวิเคราะห์เอกสาร
รหัสดีโอไอ
Title การพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีบนพื้นฐานผลการวิจัยสำรวจและการวิเคราะห์เอกสาร
Creator วิไลวรรณ ศรีสงคราม
Contributor อวยพร เรืองตระกูล, สุวิมล ว่องวาณิช
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การลอกเลียนวรรณกรรม -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา), Plagiarism -- Study and teaching (Higher)
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ระดับความรู้ความเข้าใจจำแนกตามประเภทของการลอกเลียนวรรณกรรมของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีภูมิหลังต่างกัน (2) พัฒนาโปรแกรมการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัย และ (3) ตรวจสอบผลการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมจากโปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจความรู้ความเข้าใจจำแนกตามประเภทของการลอกเลียนวรรณกรรม โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชน จำนวน 611 คน และการวิจัยเอกสารเพื่อวิเคราะห์ประเภทของการลอกเลียนวรรณกรรมจากวิทยานิพนธ์ที่เป็นวิทยานิพนธ์ของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 110 เล่ม ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรม และระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมจากโปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 37 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติภาคบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง (three – way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าที (t – test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ด้วยโปรแกรม SPSS for ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ประเภทของมหาวิทยาลัย ระดับการศึกษา และสาขาวิชาที่ต่างกันจะมีผลต่อความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมแตกต่างกัน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านโดยรวม ด้านบางส่วน และด้านความคิด 2) ประเภทของมหาวิทยาลัยและระดับการศึกษาที่ต่างกันจะมีผลต่อความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมแตกต่างกันในด้านทั้งหมด ด้านการอ้างอิงที่ไม่ถูกต้อง และด้านการลอกเลียนของตนเอง 3) ประเภทของมหาวิทยาลัยและสาขาวิชาที่ต่างกันจะมีผลต่อความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมแตกต่างกันในด้านการอ้างอิงที่ไม่ถูกต้อง และ 4) ระดับการศึกษาและสาขาวิชาที่ต่างกันจะมีผลต่อความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมแตกต่างกันในด้านทั้งหมด การถอดความอย่างไม่เหมาะสม การอ้างอิงที่ไม่ถูกต้อง และการลอกเลียนของตนเอง ส่วนการวิเคราะห์วิทยานิพนธ์พบว่า ระดับการศึกษา ปีที่สำเร็จการศึกษา และภาควิชาที่ต่างกันมีผลต่อประเภทของการลอกเลียนวรรณกรรมแตกต่างกันในด้านโดยรวม และด้านบางส่วน รวมทั้งนักศึกษากลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยโปรแกรมมีคะแนนความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมโดยรวม และรายด้านสูงกว่านักศึกษากลุ่มที่ได้รับการสอนปกติ แต่มีอัตราการลอกเลียนวรรณกรรมต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติWindows
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ