![]() |
การคัดกรองยีสต์ทนร้อนที่สามารถใช้ไซโลสเพื่อการผลิตเอทานอล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การคัดกรองยีสต์ทนร้อนที่สามารถใช้ไซโลสเพื่อการผลิตเอทานอล |
Creator | พนิดา สุริยะพันธ์ |
Contributor | วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล, สุภางค์ จุฬาลักษณานุกูล |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงเอทานอล, ยีสต์ -- การคัดเลือก, Ethanol fuel industry, Yeast -- Selection |
Abstract | การศึกษายีสต์ทนร้อนเพื่อการผลิตเอทานอลเป็นไปอย่างแพร่หลาย เนื่องจากยีสต์ทนร้อนสามารถเจริญและทำให้เกิดกระบวนการหมักได้ดีในประเทศเขตร้อน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อคัดกรองยีสต์ทนร้อนที่สามารถใช้ไซโลสในการผลิตเอทานอลได้โดยใช้อาหาร Yeast-malt extract medium ที่อุณหภูมิ 35, 37, 40, 45 และ 50 องศาเซลเซียส สามารถคัดกรองยีสต์ทนร้อนได้ทั้งหมด 25 ไอโซเลท และมี 7 ไอโซเลทที่สามารถใช้ไซโลสเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเอทานอล ยีสต์ไอโซเลท SKN 2-1 คัดกรองได้จากตัวอย่างกากอ้อยที่เก็บจากโรงงานน้ำตาลครบุรี จังหวัดนครราชสีมา สามารถผลิตเอทานอลได้ปริมาณสูงสุดเมื่อเทียบกับไอโซเลทอื่น ยีสต์ทนร้อนไอโซเลท SKN 2-1 สามารถเจริญและผลิตเอทานอลได้ที่อุณหภูมิ 40 และ 45 องศาเซลเซียส การศึกษาความสามารถในการผลิตเอทานอลของยีสต์ทนร้อนไอโซเลท SKN 2-1 ในถังปฏิกรณ์ชีวภาพขนาด 5 ลิตร สามารถผลิตเอทานอลได้สูงที่สุดเท่ากับ 0.66 และ 0.87 กรัมต่อลิตร คิดเป็น 7.67 และ 10.10 เปอร์เซ็นต์ของเอทานอลที่ผลิตได้เมื่อเทียบกับค่าทางทฤษฎี ที่อุณหภูมิ 40 และ 45 องศาเซลเซียสตามลำดับ โดยใช้ฟางข้าวที่ประกอบด้วยเซลลูโลส 37.67 ± 0.31เปอร์เซ็นต์ เฮมิเซลลูโลส 33.36 ± 1.96 เปอร์เซ็นต์ และลิกนิน 4.12 ± 0.36 เปอร์เซ็นต์เป็นวัตถุดิบ จากการวิเคราะห์ลำดับ นิวคลีโอไทด์บริเวณ D1/D2 บน 26s rDNA ของยีสต์ทนร้อนไอโซเลท 2-1 พบว่า ลำดับนิวคลีโอไทด์มีความใกล้เคียงกับยีสต์สายพันธุ์ Ogataea polymorpha 99.83% โดยมีลำดับนิวคลีโอไทด์แตกต่างกัน 1 ตำแหน่ง |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |