![]() |
บทบาทของรัฐสภาไทยในการควบคุมธรรมาภิบาลของตำรวจ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | บทบาทของรัฐสภาไทยในการควบคุมธรรมาภิบาลของตำรวจ |
Creator | ทวีศักดิ์ ตู้จินดา |
Contributor | วีระพงษ์ บุญโญภาส |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | การบริหารงานตำรวจ -- ไทย, การบริหารงานตำรวจ -- กฎหมายและระเบียบขัอบังคับ -- ไทย, ความปลอดภัยสาธารณะ -- กฎหมายและระเบียบขัอบังคับ -- ไทย, รัฐสภา -- ไทย, ธรรมรัฐ, Police administration -- Thailand, Police administration -- Law and legislation -- Thailand, Public safety -- Law and legislation -- Thailand, Legislative bodies -- Thailand, Good governance |
Abstract | ผลการศึกษา พบว่าตำรวจในฐานะองค์กรคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และตำรวจในฐานะการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในองค์กรคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปรากฏข้อมูลและหลักฐานที่แสดงว่ายังขาดธรรมาภิบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธรรมาภิบาลของตำรวจในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักนิติธรรม (Rule of Law) และในมุมมองของการบริหารบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) ตำรวจต้องสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับสาธารณะ (Public Security) ในขณะเดียวกันต้องเคารพต่อสิทธิมนุษยชน (Human Rights) และเสรีภาพส่วนบุคคล การควบคุมธรรมาภิบาลของตำรวจภายในองค์กรตำรวจเอง ไม่อาจประสบผลสำเร็จได้ ต้องอาศัยการควบคุมจากองค์กรภายนอก รัฐสภาเป็นองค์กรควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ซึ่งสามารถมีบทบาทควบคุมธรรมาภิบาลของตำรวจผ่านองค์กรภายในคือ คณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 135 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และข้อบังคับการประชุมของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและของวุฒิสภา ประกอบกับพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พุทธศักราช 2554 การเพิ่มบทบาทของคณะกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรและในวุฒิสภาในการควบคุมธรรมาภิบาลของตำรวจให้เข้มงวดขึ้น โดยปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมาธิการทั้งสองสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวุฒิสภา จะทำให้เกิดธรรมาภิบาลของตำรวจอย่างแท้จริง |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |