![]() |
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ผลการสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ผลการสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล |
Creator | นิสิตา อยู่อำไพ |
Contributor | จีระพันธุ์ พูลพัฒน์, นงลักษณ์ วิรัชชัย |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ระบบการเรียนการสอน, ความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก, การศึกษาปฐมวัย, Instructional systems, Creative thinking in children, Early childhood education |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ผลการสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะคือ ระยะเตรียมข้อมูลในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน ระยะพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล และระยะทดสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีอายุระหว่าง 5-6 ปี จำนวน 72 คน จาก 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 36 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทีซีที-ดีพี (TCT-DP: Test for creative thinking-drawing production) ของ Jellen และ Urban วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (repeated measures ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนาม (MANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นสำรวจความเป็นไปได้ ขั้นการแก้ปัญหา ขั้นแบ่งปันประสบการณ์ และขั้นการจัดนิทรรศการ 2) เด็กอนุบาลกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีพัฒนาการของความคิดสร้างสรรค์ในระยะที่ 2 สูงกว่าระยะที่ 1 และระยะที่ 3 สูงกว่าระยะที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีระดับความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าเด็กอนุบาลกลุ่มควบคุมโดยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.16/76.04 และมีค่าขนาดอิทธิพลของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นเท่ากับ 2.963 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |