![]() |
ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโปรโมเตอร์เมธิลเลชั่นกับการแสดงออกเป็นโปรตีนของยีนกลูตาไธโอน-เอส-ทรานส์เฟอเรสชนิดพีหนึ่งในมะเร็งเต้านม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโปรโมเตอร์เมธิลเลชั่นกับการแสดงออกเป็นโปรตีนของยีนกลูตาไธโอน-เอส-ทรานส์เฟอเรสชนิดพีหนึ่งในมะเร็งเต้านม |
Creator | ศุภฤทธิ์ ภักดีไทย |
Contributor | พิเชฐ สัมปทานุกุล |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | เต้านม -- มะเร็ง, การแสดงออกของยีน, กลูตาไธโอนทรานสเฟอเรส, Breast -- Cancer, Gene expression, Glutathione transferase |
Abstract | ที่มาและปัญหา: กลูธาไธโอน เอส-ทรานส์เฟอเรส ยีน ชนิดพีหนึ่ง (GSTP1) แสดงออกเป็นโปรตีน GSTP1 ซึ่งทำหน้าที่เร่งกระบวนการกำจัดสารพิษของกลูธาไธโอน การขาดเอ็นไซม์ GSTP1 มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งและเกี่ยวข้องกับการเกิดโปรโมเตอร์ เมธิลเลชั่น (promoter methylation) งานวิจัยก่อนหน้านี้พบผลการเกิด GSTP1 hypermethylation ในมะเร็งเต้านมมีความสัมพันธ์ที่หลากหลายกับดัชนีชี้วัดทางคลินิกและพยาธิวิทยา และสัมพันธ์กับการแสดงออกของโปรตีน GSTP1วัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ของผลระหว่างการเกิด promoter methylation กับการแสดงออกเป็นโปรตีนของยีน GSTP1 ในมะเร็งเต้านมวิธีการทดลอง: ใช้ชิ้นเนื้อมะเร็งเต้านมจาก 100 ตัวอย่าง เพื่อศึกษาการเกิด promoter methylation โดยเทคนิค methylation specific assay (MSP) จากชิ้นเนื้อสด ในขณะที่การแสดงออกเป็นโปรตีนศึกษาโดยเทคนิคอิมมูโนฮีสโตเคมี (immunohistochemistry) จากชิ้นเนื้อที่ผ่านการรักษาสภาพในฟอร์มาลินและตรึงในพาราฟิน และใช้สถิติ Chi Square ในการวิเคราะห์เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างผลที่ได้จากสองเทคนิคนี้และความสัมพันธ์กับ พารามิเตอร์ทางพยาธิวิทยาคลินิก (clinicopathological parameters)ผลการทดลอง: อัตราการเกิด hypermethylation ของ GSTP1 เป็น 28% (28 ราย) ในจำนวนนี้มีตัวอย่าง 8 รายเกิด methylation และ unmethylation (2-band signal) ซึ่งอาจมีสาเหตุจากเซลล์มะเร็งมีสองชนิดปนกัน หรือมีเซลล์มะเร็งไม่ลุกลามหรือเซลล์ต่อมนมปกติปนอยู่ มีตัวอย่าง 1 รายพบชิ้นเนื้อที่คู่กันเป็น non-invasive carcinoma ดังนั้นจึงเหลือตัวอย่างที่เป็น invasive carcinoma และมี hypermethylation 19 ตัวอย่าง พบมีการแสดงออกเป็นโปรตีน 12.5% ความสัมพันธ์ของผลที่ได้จากเทคนิค MSP และ IHC วิเคราะห์โดย Chi Square ได้ค่า p = 0.04 เมื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างสองเทคนิคนี้กับ ดัชนีทางคลินิกและพยาธิวิทยา แสดงให้เห็นว่า ผลบวกโดย MSP มีความสัมพันธ์กับตัวรับโปรเจสเตอโรน (p=0.05) และ ผลบวกโดย IHC มีความสัมพันธ์กับตัวรับเอสโตรเจน (p=0.001) ส่วน ดัชนีอื่น เช่น ขนาดและเกรดของมะเร็ง, การแพร่ไปต่อมน้ำเหลือง, HER2-IHC score และ Ki67 index นั้นพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันสรุปผลการทดลอง: ผลที่ได้ระหว่างการเกิด hypermethylation ของ GSTP1 โดยเทคนิค MSP และการแสดงออกเป็นโปรตีนของ GSTP1 โดยเทคนิค IHC นั้นมีความสัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตามอาจมีปัญหาทางเทคนิคในวิธีการของ MSP ที่ควรต้องมีการศึกษาต่อไป |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |