![]() |
ผลลัพธ์ของการจัดการการบำบัดด้านยาในผู้ป่วยโรคเบาหวานภายใต้รูปแบบเครือข่ายโรงพยาบาลและร้านยา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลลัพธ์ของการจัดการการบำบัดด้านยาในผู้ป่วยโรคเบาหวานภายใต้รูปแบบเครือข่ายโรงพยาบาลและร้านยา |
Creator | สุพรรษา ใหม่เอี่ยม |
Contributor | สาริณีย์ กฤติยานันท์, รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | เบาหวาน -- ผู้ป่วย -- การรักษา, การจัดการการบำบัดด้านยา, เครือข่ายร้านยา, การบริหารเภสัชกิจ, การบริหารโรค, การแนะแนวสุขภาพ, Diabetics -- Treatment, Medication Therapy Management, Community pharmacy, Pharmacy management, Disease management, Health counseling |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการจัดการการบำบัดด้านยา (MTM) ในผู้ป่วยโรคเบาหวานภายใต้รูปแบบเครือข่ายโรงพยาบาลและร้านยา รวม 5 ด้าน ได้แก่ ผลลัพธ์ทางคลินิก ปัญหาการใช้ยาที่เภสัชกรแก้ไขได้ ความร่วมมือในการใช้ยา ความพึงพอใจของผู้ป่วย และต้นทุนในการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยนอกโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร แบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษา กลุ่มละ 40 ราย ติดตามผู้ป่วยเป็นเวลา 16 สัปดาห์ ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับการรักษาทุกอย่างตามปกติจากแพทย์ แต่กลุ่มศึกษาจะไปรับบริการ MTM ที่ร้านยาคุณภาพหลังจากเข้าร่วมงานวิจัยในสัปดาห์ที่ 1, 5 และ 12 ผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษาในสัปดาห์ที่ 0 และ 16 พบว่ากลุ่มศึกษาสามารถลดค่าเฉลี่ยของระดับ FBS และ HbA1C ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยลดได้ 40.17 มก/ดล และร้อยละ 1.03 ตามลำดับ เภสัชกรพบปัญหาจากการใช้ยาในกลุ่มศึกษา 105 ครั้งซึ่งมากกว่ากลุ่มควบคุม 1.8 เท่า และแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาได้ 91 ครั้ง (ร้อยละ 86.7) การคัดกรองความร่วมมือในการใช้ยาทำในกลุ่มศึกษาโดยใช้ Brief Medication Questionnaire พบว่าในระดับผู้ป่วยมีความไม่ร่วมมือในการใช้ยาในด้านแผนการใช้ยา ด้านความเชื่อ ด้านความจำ และด้านการเข้าถึงยา คิดเป็นร้อยละ 70.0, 52.5, 97.5 และ 2.5 ตามลำดับ ผู้ป่วยพึงพอใจต่อการให้บริการ MTM ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยเฉพาะการให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาและโรคโดยเภสัชกร ผู้ป่วยคิดว่าโครงการรูปแบบนี้มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมาก ต้นทุนเฉลี่ยในการดำเนินงานต่อผู้ป่วย 1 คนเท่ากับ 211 – 343 บาทต่อครั้ง โดยสรุป การให้บริการการจัดการการบำบัดด้านยาของเภสัชกรช่วยให้ผู้ป่วยสามารถลดค่าเฉลี่ย FBS และ HbA1C ลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ช่วยค้นหาปัญหาจากการใช้ยาได้มากขึ้น แก้ไขปัญหาการใช้ยาเบื้องต้นได้ และผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อโครงการมาก |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |