การพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรมของหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยเอกชน
รหัสดีโอไอ
Title การพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรมของหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยเอกชน
Creator ศรีมณา เกษสาคร
Contributor อภิภา ปรัชญพฤทธิ์, พรชุลี อาชวอำรุง
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การพัฒนาความเป็นผู้นำ, ภาวะผู้นำทางการศึกษา, ครูภาษาอังกฤษ -- การฝึกอบรม, อาจารย์มหาวิทยาลัย -- การฝึกอบรม, หัวหน้าภาควิชา -- การฝึกอบรม, สถาบันอุดมศึกษาเอกชน -- การบริหารงานบุคคล, สถาบันอุดมศึกษาเอกชน -- อาจารย์ -- การฝึกอบรม, Development leadership, Educational leadership, English teachers -- Training of, College teachers -- Training of, College department heads -- Training of, Private universities and colleges -- Personnel management, Private universities and colleges -- Faculty -- Training of
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และบทบาทของหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษในฐานะผู้นำพหุวัฒนธรรมในมหาวิทยาลัยเอกชน วิเคราะห์องค์ประกอบและพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรมของหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยเอกชน โดยศึกษาเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 13 แห่ง กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ คณบดี และหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลัยเอกชน 13 แห่ง แห่งละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน อาจารย์ จำนวน 179 คน และนักศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ในมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และบทบาทของหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษในฐานะผู้นำพหุวัฒนธรรม พบว่า หัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้เชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างฝ่ายบริหารและอาจารย์ มีความรับผิดชอบทุกกิจกรรมของสาขาวิชา เช่น การพัฒนาหลักสูตร การวางแผน งบประมาณ การบริหารบุคคล เป็นต้น ปัญหาของหัวหน้าสาขาคือความกดดันเนื่องจากขาดประสบการณ์ด้านบริหาร และความเครียดที่เกิดจากภาระงานหนัก มีบทบาทสำคัญใน 6 บทบาท คือ 1) บทบาทผู้บริหาร 2) บทบาทผู้นำ 3) บทบาทผู้พัฒนาคณาจารย์ 4) บทบาทผู้จัดการที่ดี 5) บทบาทนักวิชาการ และ 6) บทบาทพี่เลี้ยง2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรมของหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษในทัศนะของอาจารย์ มี 2 องค์ประกอบ คือ 1) ทักษะการเปลี่ยนแปลงในกรอบทฤษฎีระบบที่เอื้อสู่การปรับตัว และ 2) ความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรม ในทัศนะของนักศึกษามี 4 องค์ประกอบ คือ 1) ทักษะการเล็งเห็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมและเชื่อมต่อในการทำงานกับบุคคลต่างวัฒนธรรมได้ 2) การผนวกความรู้และทักษะอันก่อให้เกิดความตระหนักในพหุวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรม 3) ความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของพหุวัฒนธรรมในการจัดการศึกษาและการบริหารเทศะ และ 4) ความตระหนักและความรู้ว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรมส่งผลต่อผู้เรียน3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรมของหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยเอกชนมี 5 มิติ คือ มิติที่ 1 ภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วย ปรัชญาการจัดการ วิสัยทัศน์ การจัดโครงสร้างองค์กร การปรับพฤติกรรมของบุคลากร กลยุทธ์ในการสื่อสาร และการบูรณาการงานพหุวัฒนธรรมกับกลยุทธ์องค์กร มิติที่ 2 ระบบการจัดการ ประกอบด้วย กำหนดการทำงานและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การปฐมนิเทศ การรับบุคลากรใหม่ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการ การจัดฝึกอบรมและพัฒนา การเลื่อนตำแหน่ง มิติที่ 3 ความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาต่อภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรมของหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษในอุดมคติ ประกอบด้วย ทักษะการเปลี่ยนแปลง การสังเคราะห์สาระสำคัญ และผลที่เป็นรูปธรรม มิติที่ 4 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย ด้านนโยบาย ด้านหลักการ และด้านกิจกรรม และมิติที่ 5 การติดตามผล ประกอบด้วย ความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กระบวนการรายงานผลการปฏิบัติงาน และแผนการจัดการความรู้
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ