![]() |
การศึกษาของเล่นพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางศิลปะสำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การศึกษาของเล่นพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางศิลปะสำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี |
Creator | สีวลี ศิลป์วรศาสตร์ |
Contributor | อำไพ ตีรณสาร, อินทิรา พรมพันธุ์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ของเล่น, ของเล่น -- ไทย, ของเล่นเพื่อการศึกษา, ศิลปะกับเด็ก, พัฒนาการของเด็ก, Toys, Toys -- Thailand, Educational toys, Arts and children, Child development |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาของเล่นพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางศิลปะสำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างเลือกโดยวิธีแบบเจาะจง ได้แก่ 1) ของเล่นพื้นบ้านไทยจำนวน 365 ชิ้น จาก 4 ภูมิภาค ภาคละ 4 จังหวัด จังหวัดละ 1 แห่ง 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านของเล่นพื้นบ้านไทย จำนวน 16 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการทางศิลปะเด็ก จำนวน 5 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกของเล่นพื้นบ้าน และแบบวิเคราะห์ข้อมูลของเล่นพื้นบ้านผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1) ผลการวิจัยพบว่ามีการค้นพบของเล่นพื้นบ้านในภาคเหนือมากที่สุด สำหรับข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้าน พบว่าของเล่นพื้นบ้านมีลักษณะทางกายภาพคือ ส่วนใหญ่ มีรูปร่าง-รูปทรงเป็นรูปเรขาคณิต จำลองแบบมาจากธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม ลอยตัว มีมิติ ไม่ตกแต่งสี และใช้สีธรรมชาติของวัสดุ พื้นผิวมีความเรียบและแข็ง สืบเนื่องมาจากคุณลักษณะของวัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์ โดยวัสดุหลักที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน กะลามะพร้าว และส่วนต่างๆของลำต้นกล้วย วัสดุประกอบพืชพรรณที่มีเฉพาะในท้องถิ่น เช่น ดอกไม้ เมล็ดพืช เป็นต้น และมีการใช้วัสดุสังเคราะห์เป็นส่วนน้อย ของเล่นพื้นบ้านส่วนใหญ่จะมีลวดลายตามธรรมชาติที่เกิดจากเนื้อของวัสดุ ของเล่นพื้นบ้านส่วนใหญ่ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เล่น โดยขึ้นอยู่กับวิธีการเล่นเป็นหลัก และประดิษฐ์ขึ้นเองโดยผู้ใหญ่ทำให้เด็กเล่น ในด้านกลวิธีการเล่น สามารถจำแนกวิธีการเล่นออกเป็น 18 ประเภท โดยพบว่าเป็นของเล่นประเภททำให้เกิดเสียงเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ของเล่นพื้นบ้านส่วนใหญ่ยังแฝงไว้ด้วยวัฒนธรรม คติความเชื่อ ภูมิปัญญา และความหมายที่แฝงในเรื่องของการสัมผัสใกล้ชิดธรรมชาติ รองลงมาคือเรื่องของวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งย่อมแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น 2) ของเล่นพื้นบ้าน สามารถส่งเสริมพัฒนาการทางศิลปะสำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี ตามกรอบการพัฒนาทางศิลปะ 7 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านอารมณ์ พัฒนาการทางด้านสังคม พัฒนาการทางด้านสติปัญญา พัฒนาการทางด้านการสร้างสรรค์ พัฒนาการทางด้านการรับรู้ และพัฒนาการทางด้านสุนทรียภาพได้ โดยผลการวิจัยพบว่า ของเล่นพื้นบ้านสามารถส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ได้มากที่สุด รองลงมาคือ ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านสังคม และด้านการสร้างสรรค์ เป็นจำนวนใกล้เคียงกัน สำหรับพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ด้านการรับรู้ และด้านสุนทรียภาพ มีสัดส่วนค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับด้านอื่นๆข้อเสนอแนะจากงานวิจัยครั้งนี้ สถาบันการศึกษา สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางศิลปะเด็ก สามารถจัดกิจกรรมโดยใช้ของเล่นพื้นบ้านเป็นสื่อการเรียนรู้ได้ และสามารถเลือกใช้ของเล่นพื้นบ้านในแต่ละชิ้น เพื่อนำมาเป็นสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการเสริมสร้างพัฒนาการทางศิลปะในแต่ละด้านได้ พร้อมทั้งการเสริมสร้างองค์ความรู้ในด้านของวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เช่นกัน |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |