การเปรียบเทียบระบบทำน้ำร้อนแบบใช้ปั๊มความร้อนกับใช้แผงรับแสงอาทิตย์แบบแผ่นเรียบสำหรับอาคารพักอาศัย
รหัสดีโอไอ
Title การเปรียบเทียบระบบทำน้ำร้อนแบบใช้ปั๊มความร้อนกับใช้แผงรับแสงอาทิตย์แบบแผ่นเรียบสำหรับอาคารพักอาศัย
Creator ศศิษา เรี่ยมสุวรรณ
Contributor วิทยา ยงเจริญ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ระบบน้ำร้อนในอาคาร, การทำน้ำร้อน, ปั๊มความร้อน, แผงรวมแสงอาทิตย์, เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์, การทำความร้อนจากแสงอาทิตย์, Hot-water supply, Hot-water heating, Heat pumps, Solar collectors, Solar water heaters, Solar heating
Abstract วิทยานิพนธ์นี้เป็นการเปรียบเทียบระบบทำน้ำร้อนแบบใช้ปั๊มความร้อนกับใช้แผงรับแสงอาทิตย์แบบแผ่นเรียบสำหรับอาคารพักอาศัย โดยระบบทำน้ำร้อนประกอบด้วยแบบปั๊มความร้อนหรือแผงรับแสงอาทิตย์กับถังเก็บน้ำร้อนขนาด 150 ลิตร ในการทดสอบจะใช้ปั๊มความร้อนขนาดกำลังไฟฟ้าเท่ากับ 0.78 kW และ 1.25 kWส่วนแผงรับแสงอาทิตย์แบบแผ่นเรียบขนาดพื้นที่รับแสง 2m2วางหันไปทางทิศใต้ทำมุม 15° กับแนวระดับ พารามิเตอร์สำคัญที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิน้ำเริ่มต้น, อุณหภูมิน้ำร้อนในถังเก็บ, อุณหภูมิอากาศภายนอก, กระแสไฟฟ้า, แรงดันไฟฟ้า,ความเข้มแสงอาทิตย์อุณหภูมิเข้าและออกแผงรับแสงอาทิตย์การทดสอบจะมีการเก็บข้อมูลตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น.แล้วนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาสัมประสิทธิ์สมรรถนะของปั๊มความร้อนและประสิทธิภาพของแผงรับแสงอาทิตย์จากการวิเคราะห์พบว่าปั๊มความร้อนมีค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะของระบบมีค่าอยู่ในช่วง 4.2-5.5ส่วนประสิทธิภาพของระบบพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในช่วง 43.8-52.6 %ในการวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งปี เมื่อมีอุณหภูมิน้ำเริ่มต้น 30°C พบว่าระบบทำน้ำร้อนแบบปั๊มความร้อนมีการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วง 300-800 หน่วยต่อปี ส่วนระบบทำน้ำร้อนพลังงานแสงจะมีการใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 100-530หน่วยต่อปีการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ของระบบทำน้ำร้อน ระบบทำน้ำร้อนแบบปั๊มความร้อนมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 13.0-13.6ปี ส่วนระบบทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์มีระยะเวลาคืนทุน 16.8ปี เมื่อเทียบกับระบบไฟฟ้า
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ