พลวัตวิถีการผลิตและการเปลี่ยนแปลงสังคม กรณีศึกษา : การตีเหล็กของชาวกูยชุมชนตะดอบ ตำบลตะดอบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ
รหัสดีโอไอ
Title พลวัตวิถีการผลิตและการเปลี่ยนแปลงสังคม กรณีศึกษา : การตีเหล็กของชาวกูยชุมชนตะดอบ ตำบลตะดอบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ
Creator สันติ บุตรไชย
Contributor นวลน้อย ตรีรัตน์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword กูย -- ไทย -- ศรีสะเกษ, การผลิต (ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์), การพัฒนาเศรษฐกิจ -- แง่สังคม, เศรษฐศาสตร์ -- แง่สังคม, การตีเหล็ก -- ไทย -- ศรีสะเกษ, ชุมชนตะดอบ -- แง่เศรษฐกิจ, การตีเหล็ก -- แง่สังคม, ชุมชนตะดอบ -- แง่เศรษฐกิจ, ชุมชนตะดอบ -- แง่สังคม, ตำบลตะดอบ, Kui (Southeast Asian people) -- Thailand -- Si Sa Ket, Production (Economic theory), Economic development -- Social aspects, Economics -- Social aspects, Blacksmithing -- Thailand -- Si Sa Ket, Blacksmithing -- Economic aspects, Blacksmithing -- Social aspects, Tadob community -- Economic aspects, Tadob community -- Social aspects, Tadob sub-district
Abstract วิทยานิพนธ์นี้ใช้แนวทางเชิงคุณภาพ ทฤษฎีโครงสร้างสังคม และการปะทะประสานศึกษาสังคมการตีเหล็ก มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ 1) ศึกษาการดำรงอยู่ และความเปลี่ยนแปลง หลังปี 2504 2)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตีเหล็ก การเกษตร ระบบทุน และรัฐ โดยเก็บข้อมูลภาคสนาม 3 หมู่บ้าน ในตำบลตะดอบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้อง 45 คน ระหว่างปี 2547-2555 ทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ประกอบกับการสังเกต และ สัมภาษณ์ กลุ่มตีเหล็ก 12 ใน 17 กลุ่ม ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม 2555ผลการศึกษาพบว่า 1) การตีเหล็กสัมพันธ์กับระบบทุนมากขึ้น เวลาการทำงานมากขึ้น การผลิตเพิ่มขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ เทคโนโลยีการผลิต การนำเข้าแรงงานสตรี อำนาจควบคุมของผู้นำลดลง การปรับความเชื่อ แต่ความสัมพันธ์ทางการผลิต ยังใช้การแลกเปลี่ยนแรงงาน ไม่มีการจ้างงานดังเดิม สะท้อนให้เห็นว่าโครงสร้างสังคมยังไม่เปลี่ยนไปสู่ระบบทุนนิยม 2) ด้านความสัมพันธ์กับวิถีการผลิตอื่นพบว่า บางด้านได้รับการอุดหนุนส่งเสริม ให้เพิ่มกำลังการผลิต และการกระจายสินค้า แต่อีกด้านก็ถูกเบียดขับ เกิดวิกฤตอย่างน้อย 3 ประการ คือ ถ่านตีเหล็กขาดแคลน คนรุ่นใหม่ไม่สืบทอดช่วงการผลิต และถูกสินค้าอุตสาหกรรมเบียดขับ แนวโน้มการตีเหล็กอาจหมดไป ทางออกจึงควรหานวัตกรรมช่วยการปรับตัว อาทิ ส่งเสริมเยาวชนในชุมชน ให้เห็นคุณค่าภูมิปัญญาดั้งเดิม และพัฒนาต่อยอด การวิจัยหาวัตถุดิบทดแทน วิจัยหาแนวทางการรวมกลุ่ม และการจัดจำหน่าย ส่วนรัฐ ผ่อนปรน เรื่องการผลิตถ่านตีเหล็ก สนับสนุน ดูงาน การพัฒนาสินค้า ขยายฐานการตลาด ให้การตีเหล็กอยู่ร่วมกับสังคมทุนนิยมได้
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ