การตรวจวัดซัลเฟอร์ทั้งหมดในแกโซลีนด้วยพัลส์โวลแทมเมตรี
รหัสดีโอไอ
Title การตรวจวัดซัลเฟอร์ทั้งหมดในแกโซลีนด้วยพัลส์โวลแทมเมตรี
Creator สรเทพ โสมสง
Contributor เจริญขวัญ ไกรยา
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword สารประกอบซัลเฟอร์, แกสโซลีน, โวลท์แทมเมตรี, Sulfur compounds, Gasoline, Voltammetry
Abstract สารประกอบซัลเฟอร์เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ในน้ำมันเบนซิน หลายๆองค์กร เช่น สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) และสหภาพยุโรป (EU) เป็นต้น ได้ตระหนักและพยายามที่จะควบคุมและลดปริมาณของซัลเฟอร์ในน้ำมันเบนซินมาเป็นเวลานานหลายปี ยังผลให้วิธีการตรวจวัดซัลเฟอร์ปริมาณต่ำๆ มีความสำคัญมากขึ้น งานวิจัยนี้ ได้เลือกใช้เทคนิคทางด้านพัลส์โวลแทมเมตรีร่วมกับการพัฒนาขั้วไฟฟ้าเพื่อความเหมาะสมในการตรวจวัดปริมาณซัลเฟอร์ในน้ำมันเบนซิน การศึกษาประกอบด้วย การเลือกตัวทำละลาย, เปรียบเทียบความไวของเทคนิคทางด้านพัลส์โวลแทมเมตรี ระหว่างสแควร์เวฟ โวลแทมเมตรีและดิฟเฟอร์เรนเชียลพัลส์โวลแทมเมตรี และศึกษาสัญญาณไฟฟ้าบนขั้วไฟฟ้าชนิดต่างๆ ได้แก่ ขั้วไฟฟ้ากลาสซีคาร์บอน, ขั้วไฟฟ้าทอง และขั้วไฟฟ้าบิสมัท ทั้งยังศึกษาพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการเตรียมขั้วไฟฟ้าและการตรวจวัดปริมาณซัลเฟอร์ รวมทั้งทำการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวัด และตรวจวัดในตัวอย่างจริงที่จำหน่าย ณ สถานีบริการ ผลจากการวิจัยพบว่า สัญญาณการตรวจวัดที่เหมาะสมที่สุดได้มาจากเทคนิคสแควร์เวฟโวลแทมเมตรีบนขั้วไฟฟ้าบิสมัทในสารละลายแอซิเตทบัฟเฟอร์ พีเอช 5.5 ที่ละลายในตัวทำละลายผสมระหว่างเมทานอลกับโทลูอีน อัตราส่วน 1 ต่อ 1 การทดสอบที่ใช้ขั้นตอนการเพิ่มความเข้มข้นของสารที่บริเวณผิวขั้วไฟฟ้า เป็นเวลา 30 วินาที ให้ค่าความไวที่ 571.81 nA/ppm, ขีดจำกัดต่ำสุดของการทดสอบเชิงคุณภาพ (LOD) 0.024 ppm และขีดจำกัดต่ำสุดของการทดสอบเชิงปริมาณ (LOQ) 0.081 ppm ในส่วนของการทดสอบที่ไม่ใช้ขั้นตอนการเพิ่มความเข้มข้นของสารที่บริเวณผิวขั้วไฟฟ้า ให้ค่าความไวที่ 421.89 nA/ppm, ขีดจำกัดต่ำสุดของการทดสอบเชิงคุณภาพ 0.032 ppm และขีดจำกัดต่ำสุดของการทดสอบเชิงปริมาณ 0.107 ppm ซึ่งทั้งสองวิธีมีค่าความเที่ยงที่ดี และจากการตรวจวัดปริมาณซัลเฟอร์ทั้งหมดในตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิง 4 ชนิดที่จำหน่ายในประเทศไทย รวมจำนวน 30 ตัวอย่างโดยใช้เทคนิคทางด้านเคมีไฟฟ้าที่ศึกษานี้เปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐาน ASTM D 2622 พบว่าการใช้วิธีทางเคมีไฟฟ้าให้ค่าที่สอดคล้องกับวิธีมาตรฐาน ASTM D 2622 โดยให้ค่าความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า 8.02 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้วิธีทางด้านเคมีไฟฟ้าให้ค่าขีดจำกัดต่ำสุดของการทดสอบเชิงคุณภาพและขีดจำกัดต่ำสุดของการทดสอบเชิงปริมาณที่ต่ำ สอดคล้องกับมาตรฐานยูโร 4 ที่ใช้ในประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่มกราคม พ.ศ.2555 เป็นต้นมา
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ