การก่อตัวของตะกรันและผลกระทบของตะกรันในกระบวนการระเหยของเหลวดำ
รหัสดีโอไอ
Title การก่อตัวของตะกรันและผลกระทบของตะกรันในกระบวนการระเหยของเหลวดำ
Creator ศรัณ จันทร์พวง
Contributor สุรเทพ เขียวหอม
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ของเหลว, เครื่องระเหย, Liquids, Evaporators
Abstract ในกระบวนการระเหยน้ำของเหลวดำ ในกระบวนการนำกลับมาเป็นเชื้อเพลิงของหม้อต้มไอน้ำ หลังจากมีการใช้งานระยะหนึ่ง เครื่องระเหยจะถ่ายเทความร้อนได้น้อยลง ทำให้มีประสิทธิภาพน้อยลง อันเนื่องมาจากการก่อตัวของตะกรันที่ผิวของท่อ ประสิทธิภาพที่น้อยลงทำให้ต้องสูญเสียพลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ และทำให้ต้องหยุดกระบวนการผลิตเพื่อทำการบำรุงรักษาเครื่องระเหย การวางแผนในการบำรุงรักษาที่ดีย่อมทำให้การระเหยมีประสิทธิภาพสูงสุด งานวิจัยนี้ได้ทำการสร้างเครื่องทดสอบการก่อตัวของตะกรัน ที่อุณหภูมิ 80 90 100 110 และ120 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ในช่วงของการใช้งานในเครื่องระเหย จากการทดลองค่าความต้านทานของตะกรันมีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ตามความสัมพันธ์เป็นดังสมการ Rf = 0.00131(1-e-0.10339t) – 0.00037 ที่อุณหภูมิ 80°C เมื่อ t ≥ 2.5 ชั่วโมง Rf = 0.00138(1-e-0.09388t) – 0.00023 ที่อุณหภูมิ 90°C เมื่อ t ≥ 2.2 ชั่วโมง Rf = 0.00174(1-e-0.08309t) – 0.00017 ที่อุณหภูมิ 100°C เมื่อ t ≥ 1.6 ชั่วโมง Rf = 0.00210(1-e-0.07726t) – 0.00011 ที่อุณหภูมิ 110°C เมื่อ t ≥ 1.3 ชั่วโมง Rf = 0.00258(1-e-0.06610t) – 0.00010 ที่อุณหภูมิ 120°C เมื่อ t ≥ 0.9 ชั่วโมง โดยที่ คือค่าความต้านทานตะกรันรวม และ t คือเวลาในการทดลอง ซึ่งจากการทดลองพบว่าที่เพิ่มอุณหภูมิสูงขึ้น อัตราการการก่อตัวของตะกรันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนลดลง และทำให้เครื่องระเหยมีประสิทธิภาพน้อยลงตามไปด้วย
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ