![]() |
การพัฒนารูปแบบการอบรมครูอนุบาลโดยใช้กระบวนการสืบสอบแบบร่วมมือและการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนารูปแบบการอบรมครูอนุบาลโดยใช้กระบวนการสืบสอบแบบร่วมมือและการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพ |
Creator | แสงโสม กชกรกมุท |
Contributor | ธีรานุรักษ์ จารุชัยนิวัฒน์, จุมพล พูลภัทรชีวิน |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ครูอนุบาล -- การฝึกอบรม, การพัฒนาอาชีพ, Kindergarten teachers -- Training of, Career development |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการอบรมครูอนุบาลโดยใช้กระบวนการสืบสอบแบบร่วมมือและการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพ 2) ศึกษาผลของสมรรถนะทางวิชาชีพของครูผู้เข้าร่วมการวิจัยในรูปแบบการอบรมครูอนุบาลโดยใช้กระบวนการสืบสอบแบบร่วมมือและการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพ ในด้านความรู้ ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการปฏิบัติตน ผู้เข้าร่วมการวิจัยได้แก่ ครูชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร จำนวน 6 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การเตรียมการ ขั้นที่ 2 การพัฒนารูปแบบฯ ระยะที่ 1 ขั้นที่ 3 การพัฒนารูปแบบฯ ระยะที่ 2 และ ขั้นที่ 4 การนำเสนอรูปแบบการอบรมครูอนุบาลโดยใช้กระบวนการสืบสอบแบบร่วมมือและการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพ (ฉบับสมบูรณ์) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการอบรมครูอนุบาลโดยใช้กระบวนการสืบสอบแบบร่วมมือ และการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการ และการประเมินการเรียนรู้ กระบวนการของรูปแบบการอบรมครูอนุบาลโดยใช้กระบวนการสืบสอบแบบร่วมมือและการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การรวมกลุ่มเปิดใจ ขั้นที่ 2 การร่วมมือแสวงหาแนวทาง ขั้นที่ 3 การปฏิบัติสืบสอบตามแนวทางเป็นรายบุคคล และ ขั้นที่ 4 การสร้างความหมาย และ 3 กระบวนการย่อย ได้แก่ 1) สุนทรียสนทนา 2) การฟังอย่างลึกซึ้ง และ 3) การสะท้อนการเรียนรู้ เนื้อหาของรูปแบบฯประกอบด้วย พัฒนาการเด็ก การจัดการเรียนรู้ การทำงานและสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก การเป็นแบบอย่างที่ดีและความภาคภูมิใจในวิชาชีพครู ใช้เวลาในการดำเนินการ 12 สัปดาห์ 2. รูปแบบการอบรมครูอนุบาลโดยใช้กระบวนการสืบสอบแบบร่วมมือ และการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ มีผลต่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพ โดยครูผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกคนมีระดับพฤติกรรมสมรรถนะทางวิชาชีพด้านความรู้เพิ่มขึ้น 2 ระดับ สมรรถนะทางวิชาชีพด้านการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น 2 ระดับ และสมรรถนะทางวิชาชีพด้านการปฏิบัติตนเพิ่มขึ้น 3 ระดับ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |