การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
รหัสดีโอไอ
Title การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Creator สำราญ สิริภคมงคล
Contributor ศิริเดช สุชีวะ, โชติกา ภาษีผล
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ความสุข, จิตวิทยาการศึกษา, จิตวิทยาโรงเรียน, Happiness, Educational psychology, School psychology
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและพัฒนาตัวชี้วัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนามาตรวัดความสุขสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายด้านความเที่ยง และความตรง และ 4) เพื่อสร้างค่าปกติวิสัยของความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ของประเทศไทย จำแนกตามเพศ (เพศชาย, หญิง) และแผนการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 2,400 คน ได้มาจากการสุ่มแบบ 3 ขั้นตอน (Three-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือมาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Window, โปรแกรม MULTILOGโปรแกรม SIBTEST และโปรแกรม Microsoft Office Excel ผลการวิจัยพบว่า1. มาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยโครงสร้าง 4องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านคุณภาพในการสอนของครู องค์ประกอบด้านความสามารถแสดงออกทางอารมณ์ของครู องค์ประกอบด้านโรงเรียนสนับสนุนการเรียนการสอน และองค์ประกอบด้านการเรียนการสอนที่มีความสุข 2. มาตรวัดความสุขในการเรียนประกอบด้วยจำนวน 31 ตัวชี้วัด 31 ข้อคำถาม มีค่า IOC ระหว่าง 0.8 -1.0 ค่าความเที่ยง ทั้งฉบับเท่ากับ 0.959 3. ผลการตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดด้วยโมเดล IRT พบว่ามีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 1.27 ถึง 2.23 ค่า Threshold ระหว่าง -2.22 ถึง +2.36 4. ผลวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบระหว่างเพศ พบว่ามีจำนวน 9 ข้อคำถามที่ทำหน้าที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คิดเป็นร้อยละ 26.47 5. ค่าปกติวิสัยของความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ของประเทศไทย จำแนกตามเพศ (เพศชาย, หญิง) และแผนการเรียน พบว่ามีระดับความสุข T[subscript 77.50] – T[subscript 116.00] (P[subscript 50.00] – P[subscript 74.99])
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ