ผลของการใช้กิจกรรมตามรูปแบบการประมวลข้อมูลทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กวัยอนุบาลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ
รหัสดีโอไอ
Title ผลของการใช้กิจกรรมตามรูปแบบการประมวลข้อมูลทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กวัยอนุบาลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ
Creator ประกายกาญจน์ แห่งชาติ ไชยยา
Contributor ปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ จารุชัยนิวัฒน์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword คนไร้รัฐ -- ไทย, คนไร้รัฐ -- การศึกษา (วัยเด็กตอนต้น) -- ไทย, ความก้าวร้าวในเด็ก, พฤติกรรมผิดปกติในเด็ก, พฤติกรรมบำบัดสำหรับเด็ก, Stateless persons -- Thailand, Stateless persons -- Education (Early childhood) -- Thailand, Aggressiveness in children, Behavior disorders in children, Behavior therapy for children
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมตามรูปแบบการประมวลข้อมูลทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กวัยอนุบาลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมที่แสดงออกทางวาจา และด้านพฤติกรรมที่แสดงออกทางการกระทำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือเด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 40 คน สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การพัฒนากิจกรรมตามรูปแบบการประมวลข้อมูลทางสังคม ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างเครื่องมือวิจัย และขั้นที่ 3 การทดลองใช้กิจกรรมตามรูปแบบการประมวลข้อมูลทางสังคม โดยใช้เวลาทดลอง 10 สัปดาห์ผลการวิจัยมี คือ 1) เด็กกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หลังการทดลองใช้กิจกรรมตามรูปแบบการประมวลข้อมูลทางสังคมลดลงที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) หลังการทดลอง เด็กกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลงกว่าเด็กกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05กิจกรรมตามรูปแบบการประมวลข้อมูลทางสังคมฯ ที่ปรับปรุงแล้วประกอบด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา การจัดกิจกรรมตามรูปแบบการประมวลข้อมูลทางสังคมฯ และการประเมินผล การ จัดกิจกรรมฯ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การเรียนรู้การแก้ปัญหา ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1)เผชิญปัญหาโดยใช้นิทาน 2)ทำความเข้าใจปัญหา 3)กำหนดวิธีแก้ปัญหา 4)เลือกวิธีแก้ไขปัญหา 5)ดำเนินการแก้ปัญหาโดยใช้บทบาทสมมติ และ 6) ประเมินผลการแก้ปัญหา ระยะที่ 2 การฝึกทักษะการแก้ปัญหา ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1)เผชิญปัญหาโดยใช้สถานการณ์จริง 2)ทำความเข้าใจปัญหา 3)กำหนดวิธีแก้ปัญหา 4)เลือกวิธีแก้ไขปัญหา 5)ดำเนินการแก้ปัญหาโดยใช้บทบาทสมมติ และ6)ประเมินผลการแก้ปัญหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสังเกตพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กวัยอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ