บทบาทของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาเกี่ยวกับการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ Copenhagen Accord และ Cancun Agreement
รหัสดีโอไอ
Title บทบาทของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาเกี่ยวกับการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ Copenhagen Accord และ Cancun Agreement
Creator พิชญ์สินี นิ่มวิศิษย์
Contributor ปารีณา ศรีวนิชย์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ, ก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ -- ประเทศที่พัฒนาแล้ว, ก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ -- ประเทศที่กำลังพัฒนา, ก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ, กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ, ภาวะโลกร้อน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ, Greenhouse gas mitigation, Greenhouse gas mitigation -- Developed countries, Greenhouse gas mitigation -- Developing countries, Greenhouse gas mitigation -- Law and legislation, Environmental law, International, Global warming -- Law and legislation
Abstract ปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นปัญหาวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมในระดับโลกที่ทุกประเทศต้องร่วมมือกันแก้ไขและหาทางบรรเทาผลกระทบ ความร่วมมือระหว่างประเทศได้พยายามที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเนื่องมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงได้มีการจัดทำ United Nations Framework Convention on Climate Change, Kyoto protocol, Copenhagen accord และ Cancun Agreement เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้จากการศึกษาการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ข้อตกลง Copenhagen Accord และ Cancun Agreement พบว่าสามารถตกลงกันได้ในประเด็นหลักภายหลังปี 2012 แต่ยังไม่สามารถตกลงในรายละเอียดของการตกลงทั้งหมดโดยมีสาเหตุของความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาดังนั้นจึงควรนำหลักความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกัน (Common but differentiated responsibilities) และหลักความเที่ยงธรรม (Principle of Equity) ตามกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้ในการพิจารณาร่วมกันของทั้งสองกลุ่มประเทศ เพื่อกำหนดบทบาทและหน้าที่ของกลุ่มประเทศตนในการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกันในการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้สามารถลดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมาย เพราะหลักการทั้งสองทำให้เกิดความสมดุลระหว่างแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังสร้างกรอบทางสังคมระหว่างประเทศในการสร้างกฎเกณฑ์ในการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกอีกด้วยและรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศควรมีการเตรียมความพร้อมสำหรับทิศทางดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยการจำทำนโยบายและกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับทิศทางดังกล่าว
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ