การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์สำหรับบุคลากรองค์กรธุรกิจโทรคมนาคม
รหัสดีโอไอ
Title การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์สำหรับบุคลากรองค์กรธุรกิจโทรคมนาคม
Creator พธูสิรี รัตนกาฬ
Contributor วีระเทพ ปทุมเจริญ, พสชนัน นิรมิตรไชยนนท์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การศึกษานอกระบบโรงเรียน -- กิจกรรมการเรียนการสอน, ลูกจ้าง -- การฝึกอบรม, โทรคมนาคม -- การบริหารงานบุคคล, Non-formal education -- Activity programs, Employees -- Training of, Telecommunication -- Personnel management
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์สำหรับบุคลากรในองค์กรธุรกิจโทรคมนาคม 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์สำหรับบุคลากรในองค์กรธุรกิจโทรคมนาคม และ 3) ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขการนำรูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์สำหรับบุคลากรในองค์กรธุรกิจโทรคมนาคมไปใช้ ประชากรคือบุคลากรในองค์กรธุรกิจโทรคมนาคม โดยกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในองค์กรธุรกิจโทรคมนาคมซึ่งเป็นพนักงานใหม่ที่ปฏิบัติงานด้านการให้บริการลูกค้าของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน) จำนวน 20 คน โดยเป็นการวิจัยเชิงพัฒนาแบบทดลองที่ดำเนินการทดลองกลุ่มเดียวมีการวัดผลก่อนการทดลองและหลังการทดลองผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) รูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์สำหรับบุคลากรในองค์กรธุรกิจโทรคมนาคมมีองค์ประกอบคือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3)กระบวนการดำเนินกิจกรรม 6 ขั้นตอน “ CREATED Model ” คือ 1. ขั้นปฐมนิเทศสร้างเป้าหมาย (Click Learning Goal) 2. ขั้นประสบการณ์เป็นประโยชน์ (Recall Experience ) 3. ขั้นปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนปัญหาเป็นปัญญา (Enter to Wisdom) 4. ขั้นประยุกต์ปัญญาไปแก้ปัญหา (Apply) 5. ขั้นปลดปล่อยการเปลี่ยนแปลง (Transfer) และ 6. ขั้นประเมินความก้าวหน้าร่วมกัน (Ensure) และ (4) การประเมินผล 2) ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมที่สร้างขึ้นสามารถเสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรในองค์กรธุรกิจโทรคมนาคม โดยคะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านการบริการเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ส่วนเจตคติต่อการบริการเชิงสร้างสรรค์โดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.68) พิจารณาจากองค์ประกอบด้านบุคลิกภาพ ทักษะการติดต่อสื่อสาร และความคิดสร้างสรรค์ เรียงลำดับจากมากมาน้อย สำหรับการแสดงออกที่เสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์โดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.63) พิจารณาจากองค์ประกอบด้านบุคลิกภาพ ทักษะการติดต่อสื่อสาร และการมีความคิดสร้างสรรค์ เรียงลำดับจากมากไปน้อย 3) ปัจจัยและเงื่อนไขการนำรูปแบบกิจกรรมไปใช้ ได้แก่ นโยบายการพัฒนาบุคลากร ผู้นำองค์กร และผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารของหน่วยงานให้ความสำคัญ มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์สำหรับบุคลากร และการสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม จึงสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในบุคลากรและองค์กร ซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมของสินค้าและบริการที่เป็นพลังแห่งการขับเคลื่อนองค์กรเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน โดยรูปแบบกิจกรรมมีความเหมาะสมในการพัฒนาความรู้ เจตคติ และการแสดงออกที่เสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ