การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนขององค์การบริหารส่วนตำบลและชุมชน
รหัสดีโอไอ
Title การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนขององค์การบริหารส่วนตำบลและชุมชน
Creator ไพบูลย์ สุทธิ
Contributor อมรวิชช์ นาครทรรพ, เลขา ปิยะอัจฉริยะ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การเรียนรู้, การศึกษา -- ไทย, นโยบายการศึกษา -- ไทย, การศึกษาชุมชน, Learning, Education -- Thailand, Education and state -- Thailand, Community education
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์บทบาทและแนวทางการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นกรณีศึกษา ในการดำเนินงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน และ 2) ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลและชุมชน วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์บทบาท แนวทางการบริหารจัดการของ อปท.ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเด็กและเยาวชน จำนวน 2 แห่ง ขั้นที่ 2 การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของ อบต. และชุมชนที่มีปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน และขั้นที่ 3 การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของ อบต. และชุมชน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และตรวจสอบแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิผลการศึกษา มีดังนี้ 1. การพัฒนาเด็กและเยาวชนของ อบต. กุดรัง เป็นแบบ อบต. นำในการสร้างความตระหนัก จัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน การสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากร การสร้างภาคีเครือข่ายพัฒนากับหน่วยงานทั้งในและนอกพื้นที่ ส่วนการพัฒนาเด็กและเยาวชนของเทศบาลตำบลห้างฉัตรเป็นแบบชุมชนนำ เทศบาลสนับสนุน ไม่ได้จัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน แต่กลุ่ม องค์กรและหน่วยงานในชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนงานโดยเสนอโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาล ดำเนินงานโดยอาศัยความร่วมมือของหน่วยงาน องค์กรในชุมชน การพัฒนาเด็กและเยาวชนของพื้นที่กรณีศึกษาทั้ง 2 ครอบคลุมเด็กและเยาวชนทุกกล่มอายุ โดยรูปแบบการจัดกิจกรรมครอบคลุมทั้ง 6 ด้าน คือ 1) การจัดระเบียบสังคม 2) การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 3) การศึกษาและส่งเสริมอาชีพ 4) การส่งเสริมสุขภาพและอนามัย 5) การส่งเสริมกีฬา นันทนาการและดนตรี 6) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ของ อบต.และชุมชนพื้นที่ปฏิบัติการวิจัย พบว่า ชุมชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน มีการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนเป็นกลไกขับเคลื่อนโครงการ กิจกรรมต่างๆ และอาศัยความร่วมมือขององค์กร หน่วยงานต่างๆ อบต. และชุมชนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทุกฝ่ายเห็นว่าการร่วมกันดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา ชุมชนเห็นความสำคัญและสภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกเสริมในการขับเคลื่อนงานสภาเด็กและเยาวชนต่อไปได้ 3. ยุทธศาสตร์การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนเชิงพื้นที่มีดังนี้ 1) การทำงานบนฐานข้อมูล 2) การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน 3) การส่งเสริมศักยภาพของสภาเด็กและเยาวชน 4) การระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน 5) การทำงานอย่างเป็นระบบ และ 6) การทำงานแบบองค์รวมเพื่อพัฒนาเด็กให้ครอบคลุมทุกด้านแนวทางในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้ประสบความสำเร็จคือ การส่งเสริมศักยภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนพร้อมกับการส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จคือ สภาเด็กและเยาวชน ครอบครัวและสภาองค์กรชุมชน
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ