ผลของสารควบคุมการเติบโตของพืชและไคโทซานต่อการเพิ่มจำนวนยอดและปริมาณสตีวิโอไซด์ในหญ้าหวาน Stevia rebaudiana Bertoni ในหลอดทดลอง
รหัสดีโอไอ
Title ผลของสารควบคุมการเติบโตของพืชและไคโทซานต่อการเพิ่มจำนวนยอดและปริมาณสตีวิโอไซด์ในหญ้าหวาน Stevia rebaudiana Bertoni ในหลอดทดลอง
Creator ราตรี สันติวงค์
Contributor ยุพิน จินตภากร, พัชรา ลิมปนะเวช
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword หญ้าหวาน, ไกลโคไซด์, สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช, ไคโตแซน, การเจริญเติบโตของพืช, Stevia rebaudiana, Glycosides, Plant regulators, Chitosan, Growth ‪(Plants)
Abstract ส่วนแรกงานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงสภาวะที่เหมาะสมต่อการชักนำการเพิ่มจำนวนยอดและการเจริญเติบโต ในการเลี้ยงเนื้อเยื่อข้อเดี่ยวของหญ้าหวาน ในอาหารที่มีสารควบคุมการเติบโตออกซิน ไซโทไคนิน และไคโทซาน โดยเปรียบเทียบกับการใช้สารควบคุมการเติบโต IAA (1 และ 2 mg/L) ร่วมกับ BA หรือ kinetin (0.25, 0.5, 0.75 และ 1 mg/L) กับการใช้ BA (0.5, 1, 1.5 และ 2 mg/L) หรือ kinetin (6, 12 และ18 mg/L) เพียงอย่างเดียวในอาหารสูตร MS พบว่า การเพิ่มจำนวนยอดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับชุดควบคุมที่ไม่มีสารควบคุมการเติบโต อย่างไรก็ตามหญ้าหวานที่เลี้ยงบนอาหารที่เติม BA ความเข้มข้น 2 mg/L สามารถเพิ่มน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งยอดเป็น 2.8 และ 2.7 เท่าของชุดการทดลองควบคุมตามลำดับ สำหรับการใช้ไคโทซานพบว่าอาหารที่เติมไคโทซานชนิด P80 และ P90 ที่ความเข้มข้น 10 และ 5 mg/L ตามลำดับ มีจำนวนยอดเฉลี่ย 2.00 ± 0.00 ยอดต่อข้อ ซึ่งมีแนวโน้มมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกชุดการทดลอง และยังพบว่าการใช้ไคโทซานชนิด O80 ความเข้มข้น 5 mg/L สามารถเพิ่มความยาวยอดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 7.0 ± 0.89 มิลลิเมตรในชุดการทดลองควบคุมที่ไม่เติมไคโทซาน เพิ่มขึ้นเป็น 11.13 ± 1.76 มิลลิเมตร ซึ่งทำให้ค่าเฉลี่ยน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งยอดเพิ่มขึ้นเป็น 2.3 และ 2.2 เท่าของชุดการทดลองควบคุมตามลำดับ นอกจากนี้ในชุดการทดลองเดียวกันนี้ยังมีแนวโน้มสามารถชักนำให้เกิดรากได้มากกว่า ชุดการทดลองควบคุม ในส่วนที่สองของงานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงปริมาณสารสตีวิโอไซด์ในหญ้าหวานที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง พบว่ามีปริมาณสารในชุดการทดลองที่ใช้สารควบคุมการเติบโตค่อนข้างต่ำ ในขณะที่ไคโทซานชนิด P90 40 mg/L, O80 20 mg/L และ O90 10 mg/L มีผลทำให้ปริมาณสารสตีวิโอไซด์เพิ่มมากขึ้นเป็น 1.3 เท่าของชุดการทดลองควบคุม ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ