![]() |
การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดแอนดราโกจีของ มัลคอม เอส. โนลส์ เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน วิธีเรียนทางไกล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดแอนดราโกจีของ มัลคอม เอส. โนลส์ เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน วิธีเรียนทางไกล |
Creator | อุไรวรรณ หว่องสกุล |
Contributor | วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, ยิ่ง กีรติบูรณะ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | การศึกษานอกระบบโรงเรียน, การเรียนรู้ของผู้ใหญ่, การศึกษาผู้ใหญ่, การส่งเสริมการอ่าน, การศึกษาทางไกล, Knowles, Malcolm S. (Malcolm Shepherd), 1913-1997., Non-formal education, Adult learning, Adult education, Reading promotion, Distance education |
Abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์กรณีตัวอย่างการจัดโปรแกรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่ดีในประเทศไทย 2. พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดแอนดราโกจี ของมัลคอม เอส. โนลส์ เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน 3. ศึกษาผลของการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นและนำไปใช้ 4. ศึกษาปัจจัยและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่ได้พัฒนาขึ้น ในการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์กรณีตัวอย่างแหล่งการเรียนรู้ 5 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง 30 คน และการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ใช้รูปแบบการทดลองแบบ 1 กลุ่มมีการทดสอบก่อน-หลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน วิธีเรียนทางไกล จำนวน 30 คนผลการวิจัยพบว่า 1. การวิเคราะห์กรณีตัวอย่างได้ลักษณะกิจกรรมที่จะนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรม 3 ด้านคือ ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน แก้ไขปัญหาที่มีผลต่อการอ่าน 2. โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดแอนดราโกจี ของมัลคอม เอส. โนลส์ เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้ วัตถุประสงค์ ผู้เรียน ผู้สอน เนื้อหาสาระ แนวคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ โดยเฉพาะกิจกรรมสัญญาการอ่านทำให้ผู้เรียนเกิดนิสัยรักการอ่านมากขึ้น ระยะเวลา และการประเมินผลโปรแกรม 3. ผลการใช้โปรแกรมฯ พบว่าทักษะการอ่านสูงกว่าก่อนดำเนินการที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 พฤติกรรมการอ่านส่วนใหญ่เกิดขึ้นสม่ำเสมอเป็นประจำ ด้านการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 4. ปัจจัยได้แก่ ความพร้อมของแหล่งเรียนรู้โดยการจัดบรรยากาศ การจัดกิจกรรมให้เหมาะสมเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ข้อเสนอแนะได้แก่การส่งเสริมห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม จะเป็นการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |