![]() |
อนาคตภาพการผลิตบุคลากรวิชาชีพสุขศึกษา พลศึกษา กีฬา และนันทนาการ ของสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทย ใน พ.ศ. 2554 – 2563 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | อนาคตภาพการผลิตบุคลากรวิชาชีพสุขศึกษา พลศึกษา กีฬา และนันทนาการ ของสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทย ใน พ.ศ. 2554 – 2563 |
Creator | นพดล จิรบุญดิลก |
Contributor | เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, จุมพล พูลภัทรชีวิน |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | การวางแผนกำลังคน -- ไทย, นโยบายกำลังคน -- ไทย, โรงเรียนฝึกอาชีพด้านสุขภาพ -- ไทย, บุคลากรด้านสหเวชศาสตร์ -- ไทย -- การวางแผน, Manpower planning -- Thailand, Manpower policy -- Thailand, Health occupations schools -- Thailand, Allied health personnel -- Thailand -- Planning |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพของการผลิตบุคลากรวิชาชีพสุขศึกษา พลศึกษา กีฬา และนันทนาการของสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทยใน พ.ศ.2554-2563 โดยใช้เทคนิคการวิจัย EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) เพื่อหาแนวโน้มที่พึงประสงค์และเป็นไปได้ของการผลิตบุคลากรวิชาชีพ การวิจัยดำเนินการตามกระบวนการของเทคนิคการวิจัยเชิงอนาคตแบบ EDFR แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ในขั้นตอนแรกใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 คน เพื่อรวบรวมประเด็นแนวโน้มของอนาคตภาพที่พึงประสงค์ และเป็นไปได้ในการผลิตบุคลากรวิชาชีพสุขศึกษา พลศึกษา กีฬา และนันทนาการ ของสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทยใน พ.ศ. 2554 – 2563 นำข้อมูลมาวิเคราะห์จัดทำแบบสอบถามประกอบด้วย 14 ประเด็นแนวโน้ม รวม 111 ข้อความ ดังนี้ 1) ด้านบริบทสังคมและแนวโน้มความต้องการ 2) ด้านวิสัยทัศน์และเป้าหมาย 3) ด้านสถาบันผลิต 4) ด้านนักศึกษา 5) ด้านอาจารย์ 6) ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร 7) ด้านการจัดการเรียนการสอนและประเมินผล 8) ด้านการควบคุมคุณภาพ 9) ด้านการวิจัย 10) ด้านการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม 11) ด้านการบริการวิชาการและสังคม 12) ด้านการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ13) ด้านการประเมินผลหลักสูตรและการจัดการศึกษา และ14) ด้านผลผลิตและผลลัพธ์ ในขั้นตอนที่สอง นำแบบสอบถามไปสอบถามความคิดเห็นในระดับความเป็นไปได้ของแต่ละข้อความแนวโน้มจากผู้เชี่ยวชาญ 18 คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยค่ามัธยฐาน ฐานนิยม พิสัยควอไทล์ และค่าความแตกต่างระหว่างฐานนิยมกับมัธยฐาน พบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันว่าแนวโน้ม 70 ข้อความ มีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุด และแนวโน้ม 36 ข้อความ มีโอกาสเป็นไปได้มาก ที่จะเกิดขึ้นได้ภายในปี พ.ศ. 2554 - 2563 ขั้นตอนสุดท้าย การสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 12 คน เพื่ออภิปรายข้อค้นพบและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม พบว่าอนาคตภาพและประเด็นแนวโน้มที่เป็นผลของการศึกษา สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนกลยุทธ์ในการผลิตบุคลากรวิชาชีพสุขศึกษา พลศึกษา กีฬา และนันทนาการของสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทยได้ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |