ผลของโลหะแอลคาไลและแอลคาไลน์เอิร์ทต่อไฮโดรเทอร์มัลไพโรไลซิสของกระถินยักษ์
รหัสดีโอไอ
Title ผลของโลหะแอลคาไลและแอลคาไลน์เอิร์ทต่อไฮโดรเทอร์มัลไพโรไลซิสของกระถินยักษ์
Creator สุขวัชรา จันทร์แดง
Contributor ประพันธ์ คูชลธารา
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ชีวมวล, กระถินยักษ์, โลหะอัลคาไล, โลหะอัลคาไลน์เอิร์ธ, การแยกสลายด้วยความร้อน, สารประกอบออกซิเจน, Biomass, Lead tree, Alkali metals, Alkaline earth metals, Pyrolysis, Oxygen compounds
Abstract น้ำมันชีวภาพที่ได้จากกระบวนการไพโรไลซิสโดยทั่วไปมีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของน้ำมันชีวภาพที่ได้ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาผลของโลหะแอลคาไลและแอลคาไลน์เอิร์ท ที่มีต่อการลดออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพจากไฮโดรเทอร์มัลไพโรไลซิสของกระถินยักษ์ ศึกษาโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ความดันสูง อุณหภูมิในช่วง 300 ถึง 425 องศาเซลเซียส ทำการศึกษาผลของอุณหภูมิ เวลาในการเกิดปฏิกิริยา อัตราส่วนของน้ำต่อชีวมวล และชนิดของโลหะแอลคาไลและแอลคาไลน์เอิร์ท (K₂CO₃, Na₂CO₃, Ca(OH)₂, CaO) ต่อร้อยละผลได้ของน้ำมันชีวภาพและปริมาณออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพ จากผลการทดลองพบว่า เมื่อเพิ่มอุณหภูมิของไฮโดรเทอร์มัลไพโรไลซิสจาก 300 เป็น 375 องศาเซลเซียส ร้อยละผลได้ของน้ำมันชีวภาพมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยมีค่าสูงสุดที่ 375 องศาเซลเซียส และลดลงเมื่อเพิ่มอุณหภูมิเป็น 425 องศาเซลเซียส ในขณะที่ปริมาณออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพมีแนวโน้มลดลงเมื่อเพิ่มอุณหภูมิจาก 375 เป็น 425 องศาเซลเซียส และจากการเพิ่มเวลาในการเกิดปฏิกิริยา ทำให้ร้อยละผลได้ของน้ำมันชีวภาพและปริมาณออกซิเจนมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้เมื่อเพิ่มอัตราส่วนระหว่างน้ำต่อชีวมวล ทำให้ร้อยละผลได้ของน้ำมันชีวภาพและปริมาณออกซิเจนมีแนวโน้มสูงขึ้น และการเติมโลหะแอลคาไลและแอลคาไลน์เอิร์ท ทำให้ร้อยละผลได้ของน้ำมันชีวภาพมีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพมีแนวโน้มลดลง โดยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ให้ร้อยละผลได้น้ำมันชีวภาพสูงสุดที่ร้อยละ 6.49 โดยน้ำหนัก (ปริมาณออกซิเจนร้อยละ 10.57 โดยน้ำหนัก) และโพแทสเซียมคาร์บอเนตให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพต่ำสุดที่ร้อยละ 8.02 โดยน้ำหนัก (ร้อยละผลได้น้ำมัน 5.54 โดยน้ำหนัก) ดังนั้นการใช้โลหะแอลคาไลและแอลคาไลน์เอิร์ทสามารถช่วยลดปริมาณออกซิเจนในผลิตภัณฑ์น้ำมันได้ โดยไม่ลดร้อยละผลได้ของน้ำมันชีวภาพ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ