![]() |
การกำจัดไนเทรตด้วยกระบวนการดีไนทริฟิเคชันในถังปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดที่ใช้เม็ดยางเป็นวัสดุตัวกลาง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การกำจัดไนเทรตด้วยกระบวนการดีไนทริฟิเคชันในถังปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดที่ใช้เม็ดยางเป็นวัสดุตัวกลาง |
Creator | วนิดา ห่อคำ |
Contributor | ชัยพร ภู่ประเสริฐ, วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดไนโตรเจน, ดีไนตริฟิเคชัน, เครื่องปฏิกรณ์แบบฟลูอิไดซ์, รถยนต์ -- ยาง, Sewage -- Purification -- Nitrogen removal, Denitrification, Fluidized reactors, Automobiles -- Tires |
Abstract | ศึกษาการกำจัดไนเทรตในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยกระบวนการดีไนทริฟิเคชัน โดยใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบฟลูอิดไดซ์เบดที่ใช้เม็ดยางที่ผลิตจากเศษยางรถยนต์ใช้แล้วเป็นวัสดุตัวกลาง โดยแปรค่าอัตราส่วนซีโอดีต่อไนเทรตในน้ำเสียเข้าระบบแตกต่างกัน 4 ระดับ คือ 2:1 5:1 10:1และ 15:1 ในถังปฏิกรณ์ 4 ถัง ด้วยการควบคุมความเข้มข้นไนเทรตและระยะเวลากักน้ำคงที่เท่ากับ 100 มก./ล. และ 8 ชม. ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า ระบบมีประสิทธิภาพการกำจัดไนเทรตเฉลี่ย 95% 96% 96% และ 96% ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเฉลี่ย 78% 78% 73% และ 75% ตามลำดับ โดยอัตราส่วนซีโอดีต่อไนเทรต 2:1 เป็นค่าอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อการกำจัดไนเทรตด้วยระบบฟลูอิดไดซ์เบดที่ใช้เม็ดยางเป็นวัสดุตัวกลาง เนื่องจากใช้สารอินทรีย์ในปริมาณต่ำสุด แต่กำจัดไนเทรตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีค่าใกล้เคียงกับอัตราส่วนซีโอดีต่อไนเทรตอื่นๆ ส่วนการศึกษาความหลากหลายของประชากรจุลินทรีย์ด้วยเทคนิค PCR-DGGE พบว่าระบบมีจุลินทรีย์กลุ่มดีไนทริฟายเออร์ ซึ่งสอดคล้องกับภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด ที่พบว่าความหลากหลายของจุลินทรีย์ในระบบจะเพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มค่าอัตราส่วนซีโอดีต่อไนเทรต และทุกการแปรค่าอัตราส่วนซีโอดีต่อไนเทรตจุลินทรีย์กลุ่มดีไนทริฟายเออร์ สามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี จึงเป็นการยืนยันว่าเม็ดยางที่ผลิตจากเศษยางรถยนต์ที่ใช้แล้วสามารถใช้เป็นวัสดุตัวกลาง ในถังปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดเพื่อกำจัดไนเทรตและสารอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |