![]() |
การศึกษาและพัฒนาโปรแกรมเครื่องมือวัดความถูกต้องเชิงตำแหน่งของข้อมูลเส้นภูมิศาสตร์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การศึกษาและพัฒนาโปรแกรมเครื่องมือวัดความถูกต้องเชิงตำแหน่งของข้อมูลเส้นภูมิศาสตร์ |
Creator | นลินี พรหมสาขา ณ สกลนคร |
Contributor | ชนินทร์ ทินนโชติ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์, พิกัดภูมิศาสตร์ -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์, ข้อมูลเชิงพื้นที่, ข้อมูลเชิงพื้นที่ -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์ -- การพัฒนา, Geographic information systems, Geographical positions -- Computer programs, Geospatial data, Geospatial data -- Computer programs, Computer software -- Development |
Abstract | สืบเนื่องจากการขยายตัวของการพัฒนาและประยุกต์ใช้ระบบ GIS ที่กว้างขวางและเข้มข้นขึ้นอย่างมากในประเทศไทย จึงได้มีการให้ความสำคัญกับคุณภาพข้อมูลภูมิสารสนเทศมากขึ้น โดยเฉพาะความถูกต้องเชิงตำแหน่งของข้อมูล อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานข้อมูล GIS เริ่มพบว่าแนวทางการวัดความถูกต้องเชิงตำแหน่งของข้อมูลโดยวัดเฉพาะจุดที่ระบุจำแนกได้ชัดเจน ซึ่งใช้กันอยู่โดยทั่วไปนั้นอาจไม่ละเอียดเพียงพออีกต่อไป จึงเกิดความต้องการโปรแกรมเครื่องมือช่วยในการวัดความละเอียดถูกต้องเชิงตำแหน่งของข้อมูลเส้นทางภูมิศาสตร์ ที่มีการวัดความคลาดเคลื่อนของทุกๆ ส่วนของเส้น งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาวิธีการวัดความละเอียดถูกต้องเชิงตำแหน่งของข้อมูลเส้นทางภูมิศาสตร์แนวทางต่างๆ ได้แก่ การวัดระยะเฮาส์ดอร์ฟแบบถ่วงน้ำหนัก การวัดความละเอียดถูกต้องเชิงตำแหน่งด้วยวิธีบัฟเฟอร์อย่างง่าย และการวัดค่าเฉลี่ยรากที่สองของระยะระหว่างคู่จุดบนเส้นที่มีตำแหน่งเชิงเส้นที่เท่ากัน และได้ทำการพัฒนาโปรแกรมเครื่องมือขึ้นช่วยวัดความถูกต้องเชิงตำแหน่งของข้อมูลเส้นตาม 3 แนวทางดังกล่าวได้แบบอัตโนมัติ นอกจากนั้น ยังได้ทำการพัฒนาปรับปรุงโปรแกรมเครื่องมือวัดค่าคลาดเคลื่อนเชิงตำแหน่งเฉลี่ยวิธีสถิติบัฟเฟอร์โอเวอร์เลย์ ซึ่งได้ถูกพัฒนาไว้ก่อนหน้านี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเปลี่ยนมาใช้การประมวลผลข้อมูลแบบราสเตอร์ด้วย โปรแกรมเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นทั้งหมด ได้ถูกตรวจสอบความถูกต้องของค่าผลลัพธ์ที่ได้ รวมทั้งประสิทธิภาพในการทำงานว่าสามารถนำไปใช้งานได้จริงกับชุดข้อมูลภูมิสารสนเทศทั่วไปได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญคือยังไม่สามารถจับคู่เส้นในชุดข้อมูลทดสอบและชุดข้อมูลอ้างอิงได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งหากได้มีการพัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติมขึ้นในอนาคต ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะนำไปเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลต่อไป |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |