![]() |
การประเมินประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การประเมินประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี |
Creator | จิรวรรณ ศรีสวัสดิ์สกุล |
Contributor | กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | อุตสาหกรรมปิโตรเคมี, การบริหารงานโลจิสติกส์, Petroleum chemicals industry, Business logistics |
Abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานในห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในประเทศไทย แล้วนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มธุรกิจเดียวกันซึ่งมีการทำ Benchmarking ไว้ในระดับสากล เพื่อให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการทำงานในธุรกิจปิโตรเคมีของไทยอย่างต่อเนื่อง ให้มีมาตรฐานทัดเทียมกับธุรกิจปิโตรเคมีในโลก อีกทั้งเพื่อให้เป็นแนวทางให้ผู้สนใจในการประเมินประสิทธิภาพกระบวนการทำงานมีตัวเลือกในการวัดผลอีกตัวหนึ่งนอกเหนือจากการใช้ SCOR Model และ Balance Scorecard วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้ Process Classification Framework(PCF) ของ American Productivity And Quality Center เป็นเครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานในห่วงโซ่อุปทาน หลังจากได้ค่าคะแนนของกลุ่มบริษัทตัวอย่างที่ทำการประเมินแล้ว นำค่าคะแนนนั้นมาเปรียบเทียบกับค่าคะแนน Benchmarking ของบริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกันในโลก เพื่อหากระบวนการที่ควรปรับปรุงหรือพัฒนา และหากต้องการตัวอย่างบริษัทที่มีการปรับปรุงกระบวนการตามกรอบของ PCF แล้ว สามารถศึกษาได้จาก Best Practice ที่มีบางบริษัทในโลกทำไว้แล้ว ผลการศึกษาพบว่าค่าคะแนนรวมของกลุ่มบริษัทตัวอย่างได้ค่าคะแนนรวมมากกว่าค่า Benchmarking เล็กน้อย โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้มากกว่า 9 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากกลุ่มบริษัทตัวอย่างเป็นบริษัทชั้นนำ และเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ประกอบธุรกิจปิโตรเคมีในประเทศไทยมีทุนจดทะเบียนกว่า10,000ล้านบาท และเป็นบริษัทที่มีการตื่นตัวในการพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วยกิจกรรมหลายกิจกรรม อาทิ ISO, Kaizen, Innovation, KM, KPI เป็นต้น แต่หากพิจารณาแยกตามกระบวนการย่อยในระดับกิจกรรมของ PCF กลุ่มบริษัทตัวอย่างนี้ยังสามารถพัฒนาเพิ่มเติมในบางกิจกรรมได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |