![]() |
การสร้างอารมณ์ขันในละครชุดทางโทรทัศน์แนวระทึกขวัญเชิงสืบสวนเรื่องซูเปอร์เนเชอรัล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การสร้างอารมณ์ขันในละครชุดทางโทรทัศน์แนวระทึกขวัญเชิงสืบสวนเรื่องซูเปอร์เนเชอรัล |
Creator | ชลดา พรหมชาติสุนทร |
Contributor | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ละครโทรทัศน์ -- อารมณ์ขัน |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการสร้างและประสานอารมณ์ขันในละครโทรทัศน์เรื่อง ซูเปอร์เนเชอรัล ซึ่งเป็นละครประเภทสยองขวัญเชิงสืบสวน โดยศึกษาจากละครที่ออกอากาศทุกตอน (นับถึงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554) รวมทั้งสิ้น 6 ฤดูกาล จำนวน 126 ตอน และศึกษาทัศนคติสุนทรียรส ของผู้ชมต่ออารมณ์ขันที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ โดยใช้แบบสอบถามอิเล็กทรอนิคส์ จำนวน 58 ชุด ร่วมกับการสังเกตการณ์เชิงมีส่วนร่วมในชุมชนออนไลน์ เว็บไซต์พันทิป.คอม และทัมเบรอะ.คอม ผลการวิจัยพบว่า ละครโทรทัศน์ชุดซูเปอร์เนเชอรัลประสานอารมณ์ขันเข้ากับแนวเรื่องสยองขวัญได้โดยการใช้องค์ประกอบของละคร ได้แก่ ตัวละคร นักแสดง และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ประกอบฉาก แสง สีและขาวดำ เสียง การจัดองค์ประกอบของภาพและฉาก พบว่าการเกิดอารมณ์ขันนั้นสามารถเกิดได้จาก องค์ประกอบสอดคล้องกัน นั่นคือมีความสัมพันธ์กันและสร้างอารมณ์ไปในทิศทางเดียว และองค์ประกอบขัดแย้งกัน ซึ่งเกิดขึ้นจากหลักของคู่ตรงข้าม (Binary Opposite) ซึ่งสร้างความขัดแย้ง ความไม่เป็นไปตามกฎ ไม่เป็นปกติจึงเกิดอารมณ์ขันขึ้น โดยใช้กลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน 10 รูปแบบได้แก่ เสียดสี เหน็บแนม ล้อสังคม ทำให้เป็นเรื่องสัปดน นำภาพยนตร์หรือละครมาทำให้ขำขัน นำเรื่องของตนเองแทรกไว้ในเรื่อง ทำให้เรื่องจบแบบผิดความคาดหมาย กำหนดให้บุคคลในเรื่องตีความประสบการณ์ผิด สร้างความขัดแย้งในตนเอง ลวงให้คิด ใช้ตรรกะวิทยาผิดๆ ใช้คำศัพท์แสลงหรือศัพท์วัยรุ่น จากการสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติเกี่ยวกับอารมณ์ขันในละครโทรทัศน์เรื่องซูเปอร์เนเชอรัล พบว่า อารมณ์ขันในละครโทรทัศน์เรื่องซูเปอร์เนเชอรัลเพิ่มอรรถรสให้กับเรื่องในระดับมาก องค์ประกอบของละครที่ส่งผลให้เกิดอารมณ์ขันมากที่สุดคือ ตัวละคร กลวิธีการสร้างสรรค์อารมณ์ขันที่ส่งผลให้เกิดอารมณ์ขันมากที่สุดคือ การนำภาพยนตร์หรือละครเรื่องอื่นมาทำให้ขำขัน และฤดูกาลที่ปรากฏอารมณ์ขันมากที่สุดคือ ฤดูกาลที่ 5 จังหวะของการใช้อารมณ์ขันที่พบ ได้แก่ ความเดิมตอนที่แล้ว ไตเติ้ล ใช้เปิดเรื่อง ก่อนสถานการณ์คับขัน ขณะอยู่ในสถานการณ์คับขัน หลังสถานการณ์คับขัน และพบว่าผู้ชมได้รับสุนทรียะจากการประสานอารมณ์ขันเข้ากับแนวเรื่องสยองขวัญ ซึ่งกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันนั้นมีความใกล้เคียงกับการสร้างความระทึกขวัญและความสยองขวัญ นั่นคือลวงให้ผู้ชมคิดไปอีกทาง ก่อนจะหักกลับไปอีกทางหนึ่ง |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |