![]() |
ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ MCIS ที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ และมโนทัศน์เรื่องกฎการเคลื่อนที่และแบบของการเคลื่อนที่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ MCIS ที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ และมโนทัศน์เรื่องกฎการเคลื่อนที่และแบบของการเคลื่อนที่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Creator | โกเมศ นาแจ้ง |
Contributor | วัชราภรณ์ แก้วดี |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), การศึกษาการเคลื่อนที่ |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ MCIS (2) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องกฎการเคลื่อนที่และแบบของการเคลื่อนที่ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ MCIS กับกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 102 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 52 คน และกลุ่มควบคุม 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ (1) แบบวัดความสามารถ ในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 และแบบประเมินกระบวนการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .76 (2) แบบวัดมโนทัศน์เรื่อง กฎการเคลื่อนที่และแบบของการเคลื่อนที่ ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองจัดอยู่ในระดับพอใช้ 2. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์เรื่อง กฎการเคลื่อนที่และแบบของการเคลื่อนที่หลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 70.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ร้อยละ 70 4. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์เรื่อง กฎการเคลื่อนที่และแบบของการเคลื่อนที่ สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |