![]() |
เทคนิคการติดตั้งฉนวนใยแก้วอย่างมีประสิทธิภาพในอาคารเขตร้อนชื้น |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | เทคนิคการติดตั้งฉนวนใยแก้วอย่างมีประสิทธิภาพในอาคารเขตร้อนชื้น |
Creator | เดโช เกษมสุข |
Contributor | สุนทร บุญญาธิการ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ฉนวนความร้อน, ที่อยู่อาศัย -- การหุ้มฉนวนความร้อน, Insulation (Heat), Dwellings -- Insulation |
Abstract | ปัจจุบันฉนวนกันความร้อนถือว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของอาคารในประเทศไทย ซึ่งอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อนชื้น ทำหน้าที่ป้องกันความร้อนและความชื้นไม่ให้เข้าสู่อาคาร ฉนวนใยแก้วเป็นฉนวนกันความร้อนชนิดหนึ่งที่มีการใช้งานอยู่จำนวนมาก แต่ขาดความรู้และความเข้าใจในการเลือกใช้และติดตั้ง จึงทำให้เกิดปัญหาในการใช้งาน ผลงานวิจัยพบว่า การติดตั้งฉนวนใยแก้วกับหลังคาบริเวณเหนือฝ้าเพดาน เทคนิคการติดตั้งฉนวนที่ถูกต้องจะต้องคลุมเต็มพื้นที่เหนือฝ้าเพดานทั้งหมด โดยไม่มีการเว้นช่องว่างเพื่อป้องกันการถ่ายเทความร้อนลงมาจากหลังคา และต้องใช้ฉนวนใยแก้วที่ห่อหุ้มฟอยล์รอบด้านเพื่อป้องกันความชื้น ที่มีค่าการต้านทานความร้อน (R-value) อยู่ระหว่าง 30-38 ft2.h.oF/Btu หรือประมาณ 9 นิ้ว และส่วนผนังอาคารการติดตั้งฉนวนจะติดตั้งอยู่ในโครงคร่าวโลหะ (dry wall) เทคนิคการติดตั้งฉนวนที่ถูกต้องจะต้องสอดฉนวนเข้าไปในไส้ในของโครงคร่าวโลหะทั้งหมดโดยไม่มีช่องว่าง และต้องใช้ฉนวนใยแก้วที่ห่อหุ้มฟอยล์รอบด้านเพื่อป้องกันความชื้น ที่มีค่าการต้านทานความร้อน (R-value) อยู่ระหว่าง 13-18 ft2.h.oF/Btu หรือประมาณ 4 นิ้ว ซึ่งจะทำให้ตำแหน่งการเกิดควบแน่นเป็นหยดน้ำจะอยู่บริเวณผิวหน้าของอลูมิเนียมฟอยล์ ทำให้ฉนวนใยแก้วไม่เสื่อมสภาพและไม่ก่อเกิดเชื้อรา นอกจากนี้การใช้ฉนวนใยแก้วจะช่วยป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกไม่ให้เข้ามาภายในอีกด้วย การเลือกใช้ฉนวนใยแก้วอย่างถูกต้องจะช่วยทำให้เกิดผลดีในด้านต่างๆ คือ 1) ลดอิทธิพลของสภาพอากาศภายนอก 2) ลดอุณหภูมิผิวเฉลี่ยโดยรอบภายในอาคาร 3) เพิ่มสภาวะน่าสบายภายในอาคาร 4) ลดการใช้พลังงานปรับอากาศ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |