![]() |
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมีชื่อเสียงของเอสซีจีตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมีชื่อเสียงของเอสซีจีตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
Creator | ปาณัท เงาฉาย |
Contributor | รุ่งนภา พิตรปรีชา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), การสื่อสารทางการตลาด, การสื่อสารในองค์การ |
Abstract | การศึกษาวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมีชื่อเสียงของเอสซีจีตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมีชื่อเสียงของเอสซีจี ตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงเพื่อศึกษากลยุทธ์การจัดการชื่อเสียงองค์กรของเอสซีจีกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ใช้วิธีการวิจัย 2 แบบ คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มลูกค้า กลุ่มพนักงาน กลุ่มนักลงทุน และกลุ่มชุมชนของเอสซีจี จำนวนกลุ่มละ 100 คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ และ 2) ระเบียบวิธีวิจัยวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้บริหารสำนักงานสื่อสารองค์กรและแผนกนักลงทุนสัมพันธ์ของเอสซีจี จำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านสินค้าและบริการ ปัจจัยด้านการกำกับดูแล และปัจจัยด้านความเป็นพลเมืองดี มีอิทธิพลต่อความมีชื่อเสียงของเอสซีจีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่เมื่อวิเคราะห์แยกตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 4 กลุ่มพบว่า 1) กลุ่มลูกค้า ปัจจัยด้านสินค้าและบริการ ปัจจัยด้านการกำกับดูแล และปัจจัยด้านผลประกอบการ มีอิทธิพลต่อความมีชื่อเสียงของเอสซีจีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) กลุ่มพนักงาน ปัจจัยด้านสถานที่ทำงานและปัจจัยด้านความเป็นพลเมืองดี มีอิทธิพลต่อความมีชื่อเสียงของเอสซีจีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) กลุ่มนักลงทุนพบว่า ปัจจัยด้านผลประกอบการ ปัจจัยด้านการกำกับดูแล และปัจจัยด้านความเป็นผู้นำ มีอิทธิพลต่อความมีชื่อเสียงของเอสซีจีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 4) กลุ่มชุมชนพบว่า ปัจจัยด้านความเป็นพลเมืองดี ปัจจัยด้านความเป็นผู้นำ และปัจจัยด้านสินค้าและบริการ มีอิทธิพลต่อความมีชื่อเสียงของเอสซีจีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่เอสซีจีใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการตราสินค้าเป็นกลยุทธ์ในการจัดการชื่อเสียงองค์กร รวมทั้งยังใช้เป็นกรอบในการตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ด้วย |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |