![]() |
ผลของการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้กลวิธีอาร์ อี เอ พี ที่มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการเขียนเรียงความของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลของการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้กลวิธีอาร์ อี เอ พี ที่มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการเขียนเรียงความของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
Creator | กมลพัทธ์ โพธิ์ทอง |
Contributor | สร้อยสน สกลรักษ์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), ภาษาไทย -- การอ่าน, การอ่านขั้นมัธยมศึกษา, ความคิดและการคิด, ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้กลวิธีอาร์ อี เอ พี ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนที่ได้เรียนตามกลวิธีอาร์ อี เอ พี กับนักเรียนที่ได้เรียนการสอนแบบปกติ 3) ความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยกลวิธีอาร์ อี เอ พี ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนที่ได้เรียนโดยกลวิธี อาร์ อี เอ พี กับนักเรียนที่ได้เรียนการสอนแบบปกติ ประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา 2554 จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 46 คน โดยสุ่มห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลวิธีอาร์ อี เอ พี และอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีปกติ ระยะเวลาในการสอน คือ 5 สัปดาห์ๆละ 3 คาบ รวม 16 แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และแบบความสามารถในการเขียนเรียงความ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) และค่าทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยกลวิธีอาร์ อี เอ พี หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยกลวิธีอาร์ อี เอ พี สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนที่เรียนด้วยกลวิธีอาร์ อี เอ พี หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.ความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนที่เรียนด้วยกลวิธีอาร์ อี เอ พี สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |