![]() |
การศึกษากระบวนการทางวัฒนธรรมและรูปแบบทางกายภาพ เรือนพื้นถิ่นไทยพุทธจังหวัดชายแดนใต้ : กรณีศึกษา ต.พร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การศึกษากระบวนการทางวัฒนธรรมและรูปแบบทางกายภาพ เรือนพื้นถิ่นไทยพุทธจังหวัดชายแดนใต้ : กรณีศึกษา ต.พร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส |
Creator | ณัฐพร เทพพรหม |
Contributor | วันชัย มงคลประดิษฐ, ผุสดี ทิพทัส |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | การสร้างบ้าน, สถาปัตยกรรมพื้นเมือง, พุทธศาสนิกชน -- การดำเนินชีวิต, พุทธศาสนากับวัฒนธรรม |
Abstract | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาลักษณะทางกายภาพ ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเรือนพื้นถิ่นของชาวไทยพุทธที่อาศัยอยู่ในตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยโดยวิธีการรังวัดสำรวจเรือนและเขียนแบบ วิธีการสัมภาษณ์เจ้าของเรือน ปราชญ์ท้องถิ่น และผู้ดำเนินพิธีกรรมไหว้เจ้าที่ตั้งเสาภูมิและพิธีกรรมยกเสาเอก วิธีการศึกษาข้อมูลเอกสารทางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และสภาพทางภูมิศาสตร์ของท้องถิ่น ซึ่งได้เลือกศึกษาเรือนทั้งหมด 20 หลัง โดยพิจารณาจากความสมบูรณ์ของเรือน และเจ้าของเรือนที่สามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับกระบวนการก่อสร้างเรือนได้ จากการศึกษาพบว่าชาวพร่อนสร้างเรือนพื้นถิ่นให้มีจิตวิญญาณและเป็นเรือนมงคลโดยมีพิธีกรรมและวิธีการก่อสร้างที่มีแบบแผนเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจ ประกอบด้วย การหาสถานที่และตำแหน่งปลูกเรือน การหาฤกษ์ปลูกเรือน การปฏิบัติพิธีกรรมเซ่นไหว้เจ้าที่ตั้งเสาภูมิและพิธีกรรมยกเสาเอก การใส่ผ้ายันต์มงคลบนเรือน การหาระดับพื้นแม่เรือนและการกำหนดจำนวนจันทันโดยใช้หลักคิดจากระบบธาตุ4 การกำหนดทิศหน้าเรือนและบันไดขึ้นเรือน การกำหนดทิศจันทันและวิธีการซ้อนทับ นอกจากนี้ชาวพร่อนยังได้เลือกถิ่นอาศัยตามหลักทักษา ออกแบบเรือน สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมรอบเรือน และบริหารจัดการพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนกับวิถีธรรมชาติและวิถีวัฒนธรรม เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย สรุปได้ว่า รูปแบบ หลักคิดและแนวปฏิบัติที่ปรากฏอยู่ในเรือนพื้นถิ่นไทยพุทธชาวพร่อนนั้น มีอิทธิพลมาจากคติความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนาหรือหลักธรรมชาติ ซึ่งเป็นระบบองค์รวมที่หลากหลายและมีดุลยภาพ มีความเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องระหว่างกันทั้งหมดโดยการเกื้อกูล พึ่งพิง อิงอาศัย เรือนพื้นถิ่นไทยพุทธชาวพร่อนจึงเป็นกรอบชีวิตให้ผู้อาศัย ได้พัฒนาความประพฤติ จิตใจ และปัญญาตามวิถีพุทธ ในการสร้างสังคมโพธิสัตว์ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติแวดล้อม |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |