แนวทางพัฒนาการให้บริการการออกกำลังกายสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
รหัสดีโอไอ
Title แนวทางพัฒนาการให้บริการการออกกำลังกายสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
Creator ศิกานต์ ปาลเสถียร
Contributor เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) -- บริการส่งเสริมสุขภาพ, การออกกำลังกาย
Abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางพัฒนาการให้บริการการออกกำลังกายสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่มาใช้บริการในสถานออกกำลังกายของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 400 คน การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า “ที” การทดสอบค่า “เอฟ” และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี แอล เอส ดี กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุไม่เกิน 30 ปี ตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงชั้นหนึ่ง เพศชายมีส่วนสูงและน้ำหนักเฉลี่ย 171 – 180 ซม. และ 71-80 กก. เพศหญิงมีส่วนสูงเฉลี่ย 161-170 ซม. และน้ำหนักเฉลี่ย 51-60 กก. ดัชนีมวลกายมีค่าปกติเท่ากับ 25 หรือต่ำกว่า โสด การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ 30,001-50,000 บาท ต่อเดือน ออกกำลังกาย 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ไม่ได้มาใช้บริการเป็นประจำ เนื่องจากไม่มีความเป็นส่วนตัว มักจะใช้บริการในช่วงเวลา 16.01-18.00 น. ในวันที่ไม่มีการปฏิบัติหน้าที่บนเครื่องบิน 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของแนวทางพัฒนาการให้บริการการออกกำลังกายสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่จะทำให้การพัฒนาการให้บริการ บรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งโดยภาพรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้นด้านการเงินและงบประมาณ และด้านวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของแนวทางพัฒนาการให้บริการการออกกำลังกายสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ระหว่างเพศชายกับเพศหญิง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในด้านบุคลากรด้านการวางแผน และ การจัดองค์กร ระหว่างพนักงานที่มีค่าดัชนีมวลกายต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05เฉพาะด้านการนำและระหว่างกลุ่มพนักงานที่มีตำแหน่งงานต่างกันไม่แตกต่างกัน
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ