![]() |
การศึกษาแนวทางการพัฒนาของตลาดสดค้าปลีกเพื่อให้สามารถแข่งขันกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง : กรณีศึกษา ตลาดยิ่งเจริญ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การศึกษาแนวทางการพัฒนาของตลาดสดค้าปลีกเพื่อให้สามารถแข่งขันกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง : กรณีศึกษา ตลาดยิ่งเจริญ |
Creator | วสุรัตน์ เปี่ยมใย |
Contributor | มานพ พงศทัต |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ตลาดยิ่งเจริญ, ย่านตลาด, การค้าปลีก, การแข่งขันทางการค้า |
Abstract | ภาคธุรกิจการค้าและบริการเป็นภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดในส่วนของภาคธุรกิจทั้งหมด และมีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดรายได้ให้ประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะส่วนของธุรกิจการค้าส่ง-ค้าปลีกนั้น มีปริมาณมากที่สุดของภาคธุรกิจการค้าและบริการในประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน รูปแบบการค้าปลีกในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (traditional Trade) และ ธุรกิจค้าปลีกแบบสมัยใหม่ (Modern Trade) ซึ่งการดำเนินธุรกิจการค้าของทั้ง 2 ประเภทนั้นที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง ทำให้การเกิดขึ้นของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในประเทศไทยที่ผ่านมามีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ค้าปลีกรายย่อยรวมถึงย่านตลาดสดค้าปลีก ทำให้เกิดแรงต่อต้านเพื่อปกป้องธุรกิจค้าปลีกของชุมชน แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการตลาดสดค้าปลีกหลายรายที่มีความสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการและพัฒนาพื้นที่เพื่อให้ตลาดสดค้าปลีกของตน สามารถแข่งขันกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในบริเวณใกล้เคียงและยังประสบความสำเร็จ เพื่อหาลักษณะเฉพาะของตลาดสดค้าปลีกที่เหมาะสม นำไปเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่ตลาดเพื่อให้สามารถแข่งขันกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ต่อไปนั้น “ตลาดยิ่งเจริญ” อยู่ในย่านชุมชนที่มีความหนาแน่นสูงจึงมีภาวการณ์แข่งขันทางการค้าสูงตามไปด้วยเช่นกัน และเป็นย่านตลาดเก่าที่ทำการปรับปรุงใหม่จนยกระดับกลายเป็นตลาดระดับสี่มุมเมือง สามารถตอบสนองกับความต้องการ ในการเลือกซื้อสิ้นค้าของผู้บริโภคในชุมชนนั้นๆได้ โดยมีห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงถึง 2 แห่ง เหตุนี้จึงนำมาเป็นกรณีศึกษาเพื่อให้เป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ของตลาดค้าปลีก เพื่อที่จะกำหนดแนวทางของการพัฒนาของตลาดสดค้าปลีกต่อไป โดยการไปศึกษาข้อมูลของผู้บริโภคที่มาซื้อสิ้นค้าและเช่าแผงค้าภายในตลาดยิ่งเจริญ และ กระบวนการการจัดการของตลาด ทั้งทางกายภาพ – การจัดการ เพื่อนำมากำหนดแนวทางให้สอดคล้องกันระหว่างผู้ค้า ผู้บริโภค และ เจ้าของตลาดสดที่จะสามารถทำให้ ตลาดสดค้าปลีกที่คงอยู่กับวิถีชีวิตของชุมชนต่อไป |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |