แนวทางในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยบนที่ดินที่มีการถือครองกรรมสิทธิ์รูปแบบต่างๆ ในชุมชนซอยวัดหลังบ้าน เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม
รหัสดีโอไอ
Title แนวทางในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยบนที่ดินที่มีการถือครองกรรมสิทธิ์รูปแบบต่างๆ ในชุมชนซอยวัดหลังบ้าน เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม
Creator มนต์ธัช มะกล่ำทอง
Contributor กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ที่อยู่อาศัย -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม -- ชุมชนซอยวัดหลังบ้าน (สมุทรสงคราม), กรรมสิทธิ์, การถือครองที่ดิน -- ชุมชนซอยวัดหลังบ้าน (สมุทรสงคราม)
Abstract ชุมชนซอยวัดหลังบ้าน เป็นชุมชนขนาดเล็กในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม ได้รับเลือกจาก 14 ชุมชนในเขตเทศบาลให้เป็นชุมชนต้นแบบในการปรับปรุง ฟื้นฟูและพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยกระบวนการมีส่วนร่วม เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีที่อยู่อาศัยที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม และมีที่อยู่อาศัยที่ทรุดโทรมเป็นจำนวนมาก โดยมีกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน และที่อยู่อาศัยหลายแบบ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการเสนอแนะแนวทางการฟื้นฟูที่อยู่อาศัยที่มีการถือครองกรรมสิทธิ์รูปแบบต่างๆ โดยใช้การสืบค้นเอกสาร การสำรวจที่อยู่อาศัย ปัญหา และความต้องการในการฟื้นฟูโดยการสุ่มตัวอย่าง และการสัมภาษณ์แนวทางในการฟื้นฟูจากหน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่ากรรมสิทธิ์ในการถือครองแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เจ้าของ และเช่า แยกย่อยออกเป็น 5 รูปแบบ ได้แก่ 1) เจ้าของบ้าน และที่ดิน (1 โฉนด 1 ครัวเรือน) จำนวน 67 หลัง (ร้อยละ 39 ของกลุ่มตัวอย่าง) ส่วนใหญ่ร้อยละ 60 ที่อยู่อาศัยมีสภาพดี ปัญหา คือ เป็นที่อยู่อาศัยที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมแต่ขาดการฟื้นฟูอนุรักษ์ โดยร้อยละ 65 ของครัวเรือนมีฐานะทางเซรษฐกิจค่อนข้างดี 2) กลุ่มบ้านเครือญาติ (1 โฉนด หลายครัวเรือน) จำนวน 33 หลัง (ร้อยละ 19 ของกลุ่มตัวอย่าง) ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ที่อยู่อาศัยมีสภาพทรุดโทรม ปัญหา คือ ที่อยู่อาศัยมีสภาพทรุดโทรม โดยร้อยละ 80 ของครัวเรือนมีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน 3) เช่าที่ดินเอกชน สร้างบ้าน จำนวน 30 หลัง (ร้อยละ 17 ของกลุ่มตัวอย่าง) ทั้งหมดเป็นที่อยู่อาศัยที่ทรุดโทรม ปัญหา คือ การถือครองแบบเช่าทำให้ไม่สามารถซ่อมแซมบ้านได้ โดยร้อยละ 78 ของครัวเรือนมีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน 4) เช่าที่ดินวัด (กรมศาสนา) จำนวน 24 หลัง (ร้อยละ 14ของกลุ่มตัวอย่าง) ส่วนใหญ่ร้อยละ 72 ที่อยู่อาศัยมีสภาพทรุดโทรม ปัญหา คือ ที่อยู่อาศัยมีสภาพทรุดโทรม โดยร้อยละ 71ของครัวเรือนมีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน 5) เช่าบ้านเอกชน จำนวน 16 หลัง (ร้อยละ 9 ของกลุ่มตัวอย่าง) ทั้งหมดเป็นที่อยู่อาศัยที่ทรุดโทรม ปัญหา คือ การถือครองแบบเช่าทำให้ไม่สามารถซ่อมแซมบ้านได้ โดยร้อยละ 80 ของครัวเรือนมีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี แนวทางในการปรับปรุง ได้แก่ 1) บ้านที่ควรแก่การอนุรักษ์ เสนอให้ปรับปรุงแบบเป็นรายๆ ไป โดยเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม เข้ามาช่วยเหลือ 2) บ้านที่เป็นเจ้าของที่มีสภาพทรุดโทรม สามารถเข้าร่วมกลุ่มออมทรัพย์ และทำการกู้เงินจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน มาซ่อมแซมได้เลย 3) กลุ่มเช่าที่เอกชน และบ้านเช่าที่ทรุดโทรม ต้องมีการเจรจาต่อรองกับเจ้าของที่ดิน และเจ้าของบ้านเช่าก่อน โดยต้องอาศัยการรวมพลังกัน หากดำเนินการเป็นแต่ละรายจะไม่มีอำนาจในการต่อรอง 4) กลุ่มเช่าที่ดินวัด (กรมศาสนา) หากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนมี MOU กับกรมการศาสนาแล้ว สามารถใช้แนวทางนี้ได้ แต่หากยังไม่มีก็ต้องอาศัยแนวทางที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนสร้าง MOU กับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ แล้วมีการสร้างเครือข่ายข้ามพื้นที่ เพื่อรวมพลังในการเจรจาต่อรอง ซึ่งผลที่ได้ เป็นเพียงการศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลในการที่จะนำไปใช้ในการปลุกชุมชนให้ตระหนักในปัญหา และร่วมในกระบวนการที่จะหาทางประสานกับหน่วยงาน และเจ้าของที่ดิน เพื่อให้ชุมชนซอยวัดหลังบ้านได้พัฒนาเป็นชุมชนตัวอย่างในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยตามที่ทั้ง 14 ชุมชนได้เลือกขึ้นมา
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ