การเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายด้วยการเดิน ร่วมกับการใช้น้ำหนักและไทชิ ที่มีผลในการทรงตัวของผู้สูงอายุเพศหญิง
รหัสดีโอไอ
Title การเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายด้วยการเดิน ร่วมกับการใช้น้ำหนักและไทชิ ที่มีผลในการทรงตัวของผู้สูงอายุเพศหญิง
Creator อมรเทพ วันดี
Contributor ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ผู้สูงอายุ, ไท้เก๊กสำหรับผู้สูงอายุ, การเดิน, การฝึกน้ำหนัก, การทรงตัว, Older people, Tai chi for older people, Weight training, Walking, Equilibrium (Physiology)
Abstract พัฒนารูปแบบการออกกำลังกายในการทรงตัวของสูงอายุเพศหญิงด้วยการเดิน และทดสอบประสิทธิภาพของการออกกำลังกายด้วยการเดินที่พัฒนาขึ้นโดยการเปรียบเทียบกับ ท่ารำไทชิ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายสำหรับการทรงตัวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน รูปแบบการเดินที่พัฒนาขึ้นใหม่ 8 ท่า ประกอบด้วย ท่าเดินต่อเท้าไปข้างหน้า และถอยหลัง ท่าเดินเตะขา ท่าเดินบนปลายเท้า ท่าเดินบนส้นเท้า ท่าเดินไปข้างหน้า แล้วย่อตัวลง ท่าเดินบิดเท้าออกนอกลำตัว ท่าเดินบิดเท้าเข้าด้านในลำตัว เดินไปด้านข้าง วางเท้าตรง ซึ่งพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและการวิเคราะห์กล้ามเนื้อด้วยคลื่นไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นต่อการเดินและการทรงตัว นำรูปแบบการเดิน 8 ท่าที่ได้พัฒนาขึ้นไปตรวจสอบค่าความตรงโดยการหาค่าดัชนีความตรงเชิงสอดคล้อง (IOC) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.80 จากนั้นทำการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายด้วยการเดินแปดท่าที่มีต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง เมื่อเทียบกับการออกกำลังกายด้วยไทชิ กับกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเพศหญิง อายุระหว่าง 60-69 ปี จำนวน 51 คน ออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนัก 26 คน และออกกำลังกายด้วยไทชิ 25 คน กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มทำการทดลอง 3 วันต่อสัปดาห์ วันละ 30 นาที อบอุ่นร่างกาย 5 นาที คลายอุ่นร่างกาย 5 นาที เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มทำการทดสอบการทรงตัวด้วยวิธี Time Up and Go test และ Berg Balance Scale ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 และ 8 สัปดาห์ตามลำดับ วิเคราะห์สถิติด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และใช้การทดสอบค่าทีในการหาความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนัก สามารถพัฒนากล้ามเนื้อในการทรงตัวขณะเคลื่อนที่ มากกว่าการออกกำลังกายด้วยไทชิ การทรงตัวในขณะเคลื่อนที่ของกลุ่มออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนักดีขึ้น หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ แต่การออกกำลังกายด้วยไทชิไม่มีการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม หลังการทดลอง 8 สัปดาห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนัก สามารถพัฒนาการทรงตัวในขณะเคลื่อนที่ได้ดีกว่า กลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายด้วยไทชิ แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ในการทรงตัวขณะอยู่กับที่ การออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนัก มีการใช้กล้ามเนื้อที่จำเป็นต่อการทรงตัวได้มากกว่าการออกกำลังกายด้วยไทชิ และสามารถพัฒนาการทรงตัวขณะเคลื่อนที่ได้มากกว่าการออกกำลังกายด้วยไทชิ ในขณะที่การออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนักมีการพัฒนาการทรงตัว ในขณะอยู่กับที่ได้เท่ากับการออกกำลังกายด้วยไทชิ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ