ความผิดต่อส่วนตัว : ศึกษาปัญหาการดำเนินคดีในศาล
รหัสดีโอไอ
Title ความผิดต่อส่วนตัว : ศึกษาปัญหาการดำเนินคดีในศาล
Creator พงศ์อิทธิ ภูษิตโภยไคย
Contributor ปารีณา ศรีวนิชย์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ความผิดอันยอมความได้ -- การพิจารณาและตัดสินคดี, กฎหมายอาญา -- ความผิด
Abstract ความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ เป็นความผิดที่ความเสียหายเกิดขึ้นกับเอกชนเป็นการเฉพาะตัว ซึ่งรัฐจะเข้ามามีส่วนในการดำเนินคดีนั้นเมื่อมีความประสงค์จากเอกชนเท่านั้น การดำเนินคดีความผิดต่อส่วนตัวที่มีลักษณะเฉพาะนี้ ยังมีปัญหาในชั้นการดำเนินคดีของศาลหลายประการ อาทิ กรณีที่ผู้เสียหายในความผิดต่อส่วนตัวถึงแก่ความตายก่อนแจ้งความร้องทุกข์ จะมีผู้ใดสามารถเข้ามาดำเนินการแทนผู้เสียหายต่อไปได้หรือไม่ หรือในกรณีที่ผู้แทนนิติบุคคลกระทำผิดในฐานความผิดต่อส่วนตัวต่อนิติบุคคลเสียเอง ใครจะเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีกับผู้แทนนิติบุคคลเหล่านั้น หรือกรณีที่ความผิดกรรมหนึ่งมีผู้เสียหายหลายคน หากผู้เสียหายคนหนึ่งสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ จะมีผลถึงผู้เสียหายคนอื่นหรือไม่ หรือในกรณีที่อัยการฟ้องคดีต่อศาลเป็นคดีความผิดต่อแผ่นดิน แต่ในชั้นพิจารณาของศาลกลับเห็นว่า ความผิดตามฟ้องเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อปรากฏว่าในชั้นสอบสวนมีเพียงการกล่าวโทษ มิได้มีการร้องทุกข์ตามระเบียบ ศาลจะพิพากษาคดีต่อไปอย่างไร ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับอำนาจฟ้องคดีของโจทก์ หรือกรณีที่ศาลอ่านคำพิพากษาฎีกาไปแล้ว ต่อมามีการอุทธรณ์หรือฎีกาคำร้องขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ระหว่างนั้นโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดี ก็เกิดปัญหาว่าสามารถถอนฟ้องได้หรือไม่ หรือปัญหาเรื่องการที่ผู้เสียหายที่เป็นเอกชนฟ้องคดีต่อศาลด้วยตนเอง โดยมิได้แจ้งความร้องทุกข์มาก่อน จะมีอายุความในการฟ้องคดีเพียงใด ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดการตีความกฎหมายแตกต่างกันไป ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย จากการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศในประเด็นปัญหาดังกล่าว พบว่า สำหรับประเทศไทย หากมีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นในการดำเนินคดีในศาลแล้ว โดยการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรณีผู้แทนนิติบุคคลกระทำผิดต่อนิติบุคคล กรณีการให้สิทธิร้องทุกข์หรือถอนคำร้องทุกข์ตกทอดแก่ทายาทในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ รวมถึงประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันก็จะทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไข ได้แก่ การยุติคดีภายหลังจากที่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา การแจ้งความร้องทุกข์ในชั้นสอบสวน อายุความฟ้องคดีของเอกชนผู้เสียหาย สิทธิในการดำเนินคดีอาญาในความผิดที่มีผู้เสียหายหลายคน ก็จะนำไปสู่การที่ศาลสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาไปด้วยความเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่ายอย่างแท้จริง
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ