![]() |
การกำจัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในระบบหมุนเวียนน้ำเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยถังบรรจุเม็ดดินเผาและผักกวางตุ้ง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การกำจัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในระบบหมุนเวียนน้ำเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยถังบรรจุเม็ดดินเผาและผักกวางตุ้ง |
Creator | เอกนรินทร์ ธนะกิจไพรินท์ |
Contributor | วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี, สรวิศ เผ่าทองศุข |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดไนโตรเจน, น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดฟอสฟอรัส |
Abstract | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดสารประกอบไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในระบบเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยการหมุนเวียนน้ำและตะกอนอินทรีย์ผ่านระบบบำบัดที่มีการปลูกพืชบนวัสดุตัวกลางเม็ดดินเผา โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ช่วง การทดลองในช่วงแรกเป็นการศึกษาบทบาทและอัตราการเกิดตะกอนแขวนลอยในถังเลี้ยงปลานิล (Oreochromis niloticus) ที่ระดับความหนาแน่นต่ำ (0.5 กก./ลบ.ม.) และสูง (2.0 กก./ลบ.ม.) พบว่าการเลี้ยงปลานิลที่ระดับความหนาแน่นสูงจะเกิดตะกอนแขวนลอยขึ้นในน้ำปริมาณมาก โดยตะกอนแขวนลอยมีบทบาทสำคัญในการบำบัดของเสียไนโตรเจน (แอมโมเนียและ ไนไทรต์) ผ่านกระบวนการไนทริฟิเคชัน เมื่อทดลองดึงตะกอนแขวนลอยออกจากระบบเลี้ยงปลาทั้งสองระดับความหนาแน่นด้วยอัตราร้อยละ 50 ของปริมาตรน้ำในถังเป็นจำนวน 6 รอบ พบว่าตะกอนแขวนลอยในน้ำจะเพิ่มขึ้นจนมีปริมาณเท่าเดิมในระยะเวลา 4 วัน คิดเป็นอัตราการเกิดตะกอนแขวนลอยเท่ากับ 2.45±0.73 และ 5.17±1.26 มก./ล.-วัน สำหรับระบบการเลี้ยงปลานิลที่ระดับความหนาแน่นต่ำและสูง ตามลำดับ สำหรับการทดลองในช่วงที่ 2 เป็นการศึกษาการสะสมไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของผักกวางตุ้ง (Brassica pekinensis) โดยเปรียบเทียบอัตราการเติบโตและดูดซึมธาตุอาหารระหว่างผักกวางตุ้งที่ปลูกบนวัสดุตัวกลางเม็ดดินเผาและบนดินเพาะปลูกที่มีแหล่งสารอาหารเป็นปุ๋ยอินทรีย์เป็นระยะเวลา 45 วัน พบว่าผักกวางตุ้งที่ปลูกบนดินเพาะปลูกและเม็ดดินเผามีอัตราการเติบโตเท่ากับ 0.04±0.01 และ 0.03±0.01 ก.-นน. เปียก/ต้น-วัน โดยในผักกวางตุ้งมีปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสคิดเป็นร้อยละ 100 และ 1.78 ของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ส่วนการทดลองช่วงสุดท้ายเป็นการทดสอบประสิทธิภาพการบำบัดคุณภาพน้ำจากระบบเลี้ยงปลานิลเมื่อทดลองทำการหมุนเวียนน้ำเลี้ยงปลาและตะกอนแขวนลอยเข้าสู่ระบบบำบัดที่มีวัสดุตัวกลางเม็ดดินเผาเป็นตัวกรองตะกอนแขวนลอยร่วมกับการปลูกผักกวางตุ้ง ด้วยอัตราการไหล 3 ล./นาที เป็นเวลา 10 นาที และหยุดพัก 60 นาที หมุนเวียนไปตลอด 24 ชม. แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ชุด ได้แก่ ชุดทดลอง (ถังเลี้ยงปลา + เม็ดดินเผา + ผักกวางตุ้ง) ชุดควบคุม-1 (ถังเลี้ยงปลาเพียงอย่างเดียว) และชุดควบคุม-2 (ถังเลี้ยงปลา + เม็ดดินเผา) ผลการทดลองพบว่าอัตราการเติบโตของปลานิลในชุดทดลอง (0.45±0.15 ก.-นน. เปียก/วัน) มีค่าสูงกว่าในชุดควบคุม-1 และชุดควบคุม-2 ที่มีอัตราการเติบโตใกล้เคียงกัน คือ 0.37±0.16 และ 0.38±0.05 ก.-นน. เปียก/วัน ตามลำดับ ส่วนน้ำหนักเฉลี่ยของผักกวางตุ้งตลอดการทดลองพบว่าเพิ่มขึ้นจาก 0.15±0.02 เป็น 1.00±0.38 ก.-นน. เปียก ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในถังเลี้ยงปลานิล พบว่าน้ำในชุดทดลองมีคุณภาพดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม โดยมีปริมาณแอมโมเนีย ไนไทรต์ ไนเทรต และฟอสเฟตต่ำ ผลการประเมินสมดุลไนโตรเจนและฟอสฟอรัสแสดงให้เห็นว่าไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่ถูกเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อของผักกวางตุ้งมีค่าเพียงร้อยละ 1.31 และร้อยละ 0.11 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าการปลูกพืชในถังบำบัดมีส่วนช่วยในการบำบัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสไม่มากนัก ส่วนการบำบัดของเสียไนโตรเจนส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในถังที่บรรจุเม็ดดินเผา โดยการตกค้างของตะกอนในชั้นของเม็ดดินเผาจะเกิดกระบวนการย่อยสลายและกระบวนการดีไนทริฟิเคชันในชั้นตะกอนภายในถังบำบัด |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |