![]() |
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยครอบครัวกับปัญหาพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น ภาคตะวันออก |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยครอบครัวกับปัญหาพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น ภาคตะวันออก |
Creator | ดารุณี งามขำ |
Contributor | จินตนา ยูนิพันธุ์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | โรคสมาธิสั้น -- การดูแล, การบำบัดทั้งระบบ (ครอบครัวบำบัด), ผู้ปกครองกับเด็ก, Attention-deficit hyperactivity disorder -- Care, Systemic therapy (Family therapy), Parent and child |
Abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัญหาพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น 2) ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยครอบครัว ซึ่งประกอบด้วยความเพียงพอของรายได้ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ปัญหาทางจิตของพ่อแม่/ผู้ดูแล กิจวัตรสุขภาพครอบครัวและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวกับปัญหาพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น กลุ่มตัวอย่าง คือพ่อแม่หรือผู้ดูแลของเด็กสมาธิสั้น (อายุ 6-12 ปี) จำนวน 120 คน ที่มารับบริการต่อเนื่องในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลในเขตภาคตะวันออก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์ความเพียงพอของรายได้ 2) แบบประเมินความสัมพันธ์ภายในครอบครัว 3) แบบสอบถามปัจจัยด้านกิจวัตรสุขภาพครอบครัว 4) แบบสอบถามการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว 5) แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) มีค่าความเที่ยงของเครื่องมือ เท่ากับ .95, .88, .87, .92 และ .74 ตามลำดับ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้ สถิติสัมประสิทธิ์ Eta และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า1) เด็กสมาธิสั้นมีปัญหาพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน คิดเป็นร้อยละ 70.00 พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ร้อยละ 62.50 พฤติกรรมด้านอารมณ์ ร้อยละ 54.20 พฤติกรรมเกเร ร้อยละ 34.20 และพฤติกรรมด้านสัมพันธภาพทางสังคม ร้อยละ 20.00 2) การเจ็บป่วยทางจิตของพ่อแม่/ผู้ดูแล มีความสัมพันธ์ทางบวก กับปัญหาพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความเพียงพอของรายได้ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว กิจวัตรสุขภาพครอบครัว และการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางลบ กับปัญหาพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |