![]() |
แนวทางการจัดสรรงบประมาณตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีสำหรับคนพิการ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | แนวทางการจัดสรรงบประมาณตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีสำหรับคนพิการ |
Creator | จุฑารัตน์ ขนอม |
Contributor | เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | นโยบายการศึกษา -- ไทย, สิทธิในการศึกษา, นโยบายการใช้จ่ายเงินของรัฐ -- ไทย, คนพิการ -- ไทย, การวางแผนการศึกษา -- ไทย, ไทย -- การจัดสรรเงินและรายจ่าย, Education and state -- Thailand, Right to education, Government spending policy -- Thailand, People with disabilities -- Thailand, Educational planning -- Thailand, Thailand -- Appropriations and expenditures |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) ศึกษางบประมาณในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม (2) เพื่อศึกษาค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม และ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดสรรงบประมาณตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สำหรับคนพิการในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ เพื่อศึกษางบประมาณและค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม และนำข้อมูลที่ได้มาจัดสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการนำเสนอแนวทางการจัดสรรงบประมาณตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีสำหรับคนพิการผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมจำแนกตามระดับชั้น พบว่าระดับชั้นก่อนประถมศึกษา คนพิการมีค่าใช้จ่ายรายหัวรวมทั้ง 5 รายการมีค่าใช้จ่ายรายหัวมากกว่างบประมาณที่ได้รับจำนวนร้อยละ 49.70 ระดับชั้นประถมศึกษา คนพิการมีค่าใช้จ่ายรายหัวรวมทั้ง 5 รายการมีค่าใช้จ่ายรายหัวมากกว่างบประมาณที่ได้รับจำนวนร้อยละ 39.35 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คนพิการมีค่าใช้จ่ายรายหัวรวมทั้ง 5 รายการมีค่าใช้จ่ายรายหัวน้อยกว่างบประมาณที่ได้รับจำนวน ร้อยละ 1.36 2) การจัดสรรงบประมาณตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สำหรับคนพิการ พบว่าในปัจจุบันรัฐบาลจัดสรรโดยใช้หลักของความเสมอภาค (Equality) คือจัดสรรให้ทุกคนในอัตราที่เท่าเทียมกัน ให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงหลักความเป็นธรรม (Equity) คือการคำนึงข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการต่างๆ ที่รัฐจัดให้ ดังนั้นรัฐบาลควรคำนึงถึงความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคลด้วย รัฐบาลควรเปลี่ยนวิธีการคิดในการจัดสรรงบประมาณโดยใช้หลักความเป็นธรรม (Equity) เพื่อให้คนพิการได้รับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการพัฒนาศักยภาพได้เท่าเทียมกับบุคคลทั่วไปในสังคม การจัดสรรงบประมาณตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีสำหรับคนพิการควรมุ่งประเด็นเพื่อ “พัฒนาศักยภาพคนพิการ” เพื่อให้คนพิการมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าในสังคม ไม่ใช่ “การสงเคราะห์คนพิการ” และต้องคำนึงถึงการเป็น “สังคมฐานสิทธิ” ไม่ใช่ “สังคมฐานสงเคราะห์” หรือ “เวทนานิยม” และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรมีส่วนร่วมในการจัดการงบประมาณเพื่อคนพิการด้วย เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพคนพิการอย่างต่อเนื่อง |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |