![]() |
สุขภาวะทางจิตของผู้ป่วยสารเสพติดในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ ภายหลังได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแนวพุทธ : การวิจัยเชิงคุณภาพแบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกัน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | สุขภาวะทางจิตของผู้ป่วยสารเสพติดในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ ภายหลังได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแนวพุทธ : การวิจัยเชิงคุณภาพแบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกัน |
Creator | กุลรัตน์ แก้วเป็ง |
Contributor | อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | คนติดยาเสพติด, คนติดยาเสพติด -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ, พุทธศาสนากับจิตวิทยา, การแพทย์ -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา, Narcotic addicts, Narcotic addicts -- Rehabilitation, Medicine -- Religious aspects -- Buddhism |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาวะทางจิตของผู้ป่วยสารเสพติดในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพภายหลังได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแนวพุทธ ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ป่วยสารเสพติดที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแนวพุทธ ณ ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด แม่ฮ่องสอน จำนวน 8 คน (ชาย 6 คน หญิง 2 คน) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์แบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกัน ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแนวพุทธ ผู้ให้ข้อมูลรายงานประสบการณ์หลังการได้รับการปรึกษา 7 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การมีจิตใจที่เข้มแข็งจัดการตนเองได้ดี ได้แก่ การควบคุมตัวเองได้และการมีจิตใจที่มั่นคง 2) ความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อม มีความพร้อมก้าวเดินต่อไป ได้แก่ พร้อมก้าวเดินต่อไปไม่กลัวอุปสรรค 3) การเปิดใจยอมรับผู้อื่น ลดทิฐิและสัมพันธภาพที่ดี ได้แก่ การมองเห็นความรักของคนรอบข้าง การเปิดใจมองในมุมมองของคนอื่นมากขึ้นและความพร้อมในการให้อภัยผู้อื่น 4) การมีความมุ่งหวังเป็นพลังผลักดันให้ก้าวเดิน ได้แก่ การมีเป้าหมายและทิศทางในการดำเนินชีวิต การมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและมีความมุ่งหวังในชีวิต 5) การมองเห็นคุณค่าและมีความพร้อมในการยอมรับตัวตนของตนเอง ได้แก่ การมองเห็นคุณค่าและศักยภาพของตนเอง การมองเห็นและยอมรับข้อดีและข้อเสียของตนเอง การให้อภัยตัวเองเพื่อเริ่มต้นใหม่ การยอมรับและมีทัศนคติที่ดีต่ออดีตของตนเอง 6) การมีสติเป็นรากฐานในการพัฒนาตน ได้แก่ การเติบโตด้านการมีสติ การเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ สิ่งรอบตัว และการมีความต้องการพัฒนาตนเอง 7) การมีจิตใจสงบสบาย ได้แก่ การมีจิตใจที่สุขสบาย ผลการศึกษาได้สะท้อนถึงการสุขภาวะทางจิตที่ดีขึ้นจากการได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแนวพุทธ ผู้วิจัยได้อภิปรายผลการวิจัยและได้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคตต่อไป |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |